วิธีดูแลผิวหน้า การดูแลผิวหน้า จาก Vichy Mag

“ผมร่วง” เกิดจากสาเหตุอะไรและควรจะดูแลอย่างไรดี?

ผมร่วง

          ผมร่วง หลาย ๆ คนมักจะคิดว่ามีสาเหตุมาจากฮอร์โมนเพียงอย่างเดียว แต่จริง ๆ แล้วยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการผมร่วงได้อีกด้วย บทความนี้เราจะมารู้จักถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดผมร่วงและแนวทางการรักษากัน

          ผมร่วง คือ ปัญหาที่หลาย ๆ คนไม่อยากให้เกิดกับตัวเอง แม้ว่าจะไม่กระทบต่อสุขภาพร่างกาย แต่ก็ทำให้เราขาดความมั่นใจเวลาที่ไปพบเจอคนอื่น ซึ่งนอกจากจะมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ทำให้เกิดผมร่วง ส่วนการรักษานั้น หากยังเป็นไม่เยอะ ก็สามารถที่จะใช้ผลิตภัณฑ์เวชสำอางดูแลได้ แต่ถ้าเกิดผมร่วงเป็นบริเวณกว้าง หรือไม่แน่ใจว่าเซลล์รากผมตายไปแล้วหรือยัง กรณีนี้ควรพบแพทย์เพื่อทำการวิเคราะห์ว่าสามารถทำให้ผมกลับมางอกใหม่ได้อีกหรือไม่

สารบัญ

วงจรการเจริญเติบโตของเส้นผม

          ผมร่วง เป็น 1 ในวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผม โดยเส้นผมจะมีการเกิดใหม่ เติบโต และหลุดร่วงเป็นธรรมดา ซึ่งสามารถแบ่งวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผมได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

1. เติบโต

          ระยะการเติบโต (Anagen Phase) เป็นช่วงระยะเวลาที่เส้นผมใหม่งอกขึ้นมา โดยมีระยะเวลายาวนานประมาณ 3 - 5 ปี ในวัยเด็ก และเมื่อมีอายุมากขึ้นระยะการเจริญเติบโตของเส้นผมจะสั้นลง โดยในระยะนี้เส้นผมจะงอกเร็วประมาณ 1 cm. หรือ ครึ่งนิ้ว

2. พักตัว

         ระยะพักตัว (Catagen Phase) คือระยะสิ้นสุดการเจริญเติบโต โดยเส้นผมจะเริ่มเข้าสู่ระยะพักตัว ประมาณ 3 สัปดาห์ ในระยะนี้เส้นผมจะแยกตัวจากหลอดเลือดที่มาหล่อเลี้ยง รวมถึงค่อย ๆ ขาดสารอาหารและเตรียมที่จะหลุดร่วง

3. หยุดการเจริญเติบโต

          ระยะหยุดการเจริญเติบโต (Telogen Phase) ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จะมีเส้นผมที่งอกขึ้นมาใหม่ดันให้ผมเก่าร่วงออกไป โดยหากมีอะไรมาขัดขวางการเจริญเติบโตของผมใหม่หรือเร่งให้ผมอยู่ในระยะพักเร็วขึ้นก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผมร่วงมากกว่าที่ผมจะขึ้น ทำให้ผมบางลง หนังศรีษะอาจเกิดการผิดปกติ ทำให้หัวล้านได้

สรุปปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาผมร่วงแบบง่าย ๆ

          ผมร่วง มีปัจจัยหลากหลายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกรรมพันธุ์ ฮอร์โมนเพศ โดยเฉพาะ Testosterone ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสาร DHT และทำให้เส้นผมลีบเล็กลง และหลุดร่วงในที่สุด นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่าง เช่น

ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอก

          ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น รังสี UV1 หรือ ฝุ่น PM2.52 ซึ่งมีการศึกษาวิจัยมาแล้วว่ามีผลต่อการเกิดผมร่วงได้เช่นกัน

ปัจจัยที่มาจากไลฟ์สไตล์ของเรา

          ปัจจัยที่มาจากไลฟ์สไตล์ของเราเอง เช่น การสูบบุหรี่3 หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียดสะสม4 หรือการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ

          ปัจจัยเหล่านี้ หรือที่เราเรียกรวม ๆ ว่า Exposome ถือว่าเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการอักเสบขนาดเล็ก ๆ ที่รากผม หรือที่เราเรียกว่า Microinflammation ซึ่งนำมาสู่ปัญหาผมร่วงนั้นเอง โดยเฉพาะในผู้หญิง ปัจจัยด้าน Exposome จะเป็นสาเหตุหลัก มากกว่าระดับฮอร์โมนด้วยซ้ำ

อาการของผมร่วงที่พบได้ทั่วไป

          สำหรับรูปแบบของผมร่วงนั้น ผู้ชาย จะมีการเว้าแหว่งบริเวณด้านหน้า เป็นรูปตัว M และยังมีการหลุดร่วงตรงกลางหนังศีรษะอีกด้วย ถ้าเป็นมากขึ้น หรือไม่มีการดูแลอย่างถูกวิธี จะทำให้บริเวณที่หลุดร่วงมีการขยายวงกว้างขึ้น จนส่วนหน้าขยายไปรวมกับส่วนกลางศีรษะ โดยจะแบ่งออกเป็น 7 stage ตาม Hamilton-Norwood scale ดังรูป

 

Hamilton-Norwood scale

 

Hamilton-Norwood scale

          ถ้าเป็นผู้หญิงรูปแบบของผมร่วงก็คือจะเริ่มบางตรงบริเวณกลางผมตามแนวแสกผม ตาม Ludwig scale

 

Ludwig scale

 

Ludwig scale

ดูแลปัญหาผมร่วงอย่างไรดี

          อย่างที่เราได้ทราบกันแล้วว่า ปัญหาผมร่วงไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม หรือ ฮอร์โมนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนั้น การหลีกเลี่ยงปัจจัยอื่นที่จะส่งเสริมให้ผมร่วงมากขึ้น ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การสูบบุหรี่ หรือการปกป้องผิวจากรังสี UV มลภาวะ ฝุ่น PM2.5 การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและบริหารความเครียด

          นอกจากนี้การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยทำให้รากผมและหนังศีรษะแข็งแรง ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้เส้นผมยังคงยึดเกาะกับหนังศีรษะได้ดี และลดการหลุดร่วงของเส้นผมได้

แชมพูรักษาผมร่วง แนะนำโดยเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ

          Vichy เวชสำอางจากประเทศฝรั่งเศส ที่มีแพทย์ผิวหนังกว่า 50,000 คนทั่วโลกมั่นใจแนะนำให้ใช้5 ได้เปิดตัว DERCOS Dermatological Scalp and Hair Expert ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ ที่ช่วยจัดการปัญหาผมร่วง และช่วยทำให้เส้นผมและรากผมแข็งแรงขึ้นได้

ผลิตภัณฑ์แชมพูรักษาและป้องกันผมร่วง จาก Vichy

          Dercos Aminexil เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผมได้ โดยที่มีผลิตภัณฑ์ที่แนะนำให้ใช้คู่กันเป็น Protocol คือแชมพู Aminexil Energy+ และ เซรั่ม Aminexil Clinical 5

 

Dercos Aminexil

 

คุณสมบัติ

          แชมพู Dercos Aminexil สามารถช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผมได้แบบ 5 มิติ คือ

  • ลดการหลุดร่วงของเส้นผม
  • บำรุงหนังศีรษะอย่างล้ำลึก
  • เสริมความแข็งแรงของรากผมและหนังศีรษะ
  • เสริมความชุ่มชื้น
  • ลดโอกาสที่จะเกิดการระคายเคือง

          นอกจากแชมพู Dercos Aminexil จะช่วยลดผมร่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วนั้น ยังช่วยทำให้เส้นผมดูมีโวลลุ่ม ดูหนาแน่นขึ้นอีกด้วย

          ส่วนผสม Aminexil เป็นสารที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเน็ทเวิร์คของคอลลาเจนที่รากผมให้แข็งแรงยิ่งขึ้น จึงช่วยลดการหลุดร่วงได้ นอกจากนี้ยังมี Argenine ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการไหลเวียน SP94 เป็นแหล่งพลังงานในการงอกใหม่ของเส้นผม ทั้งสามส่วนผสมนี้จะทำงานร่วมกันเพื่อช่วยให้เส้นผมและรากผมมีการแข็งแรงขึ้น อีกทั้งลดการหลุดร่วงของเส้นผม และมีการทดสอบทางการแพทย์ยืนยันแล้วว่าช่วยทำให้ผมดูหนาแน่นขึ้น เมื่อใช้เป็นประจำต่อเนื่อง 6 เดือน6

วิธีการใช้งาน

          สำหรับวิธีการใช้นั้น แนะนำให้สระผมด้วยแชมพู Dercos Aminexil Energy+ ก่อน โดยสามารถสระได้บ่อยตามต้องการ หลังจากสระผมแล้ว เป่าผมและหนังศีรษะให้แห้งโดยใช้ลมเย็นเป่า แล้วจึงค่อยลงเซรั่ม Dercos Aminexil Clinical 5 โดยแนะนำให้ใช้ได้ทุกวัน เพียงวันละ 1 ครั้งเท่านั้น แบ่งใช้บริเวณที่มีการหลุดร่วงของเส้นผม และใช้ปลายแอพลิเคเตอร์ นวดหนังศีรษะเพื่อกระตุ้นการงอกของเส้นผมได้ด้วย

          สามารถใช้ตอนเช้าหรือตอนเย็นก็ได้ และถ้าใช้ไม่หมด เพราะบางคนอาจจะมีบริเวณที่เส้นผมหลุดร่วงไม่มาก ก็สามารถเก็บแอมพูลไว้ในตู้เย็นได้

          Dercos AMINEXIL มาพร้อมกับสูตรที่เหมาะสำหรับหนังศีรษะบอบบางแพ้ง่าย Hypoallergenic ปราศจากปัจจัยที่จะทำให้เกิดการแพ้หรือระคายเคือง เพราะ ปราศจากสารกันเสียพาราเบน ซิลิโคน และสารแต่งสี คนที่หนังศีรษะแพ้ง่ายจึงใช้ได้อย่างสบายใจ

ประวัติเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ

 

เภสัชกร

 

          เภสัชกร บดินทร์ หลักทอง เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณ จบการศึกษา เภสัชศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฉพาะทางสาขาเทคโนโลยีเภสัชกรรมเครื่องสำอาง และวิชาเลือกสาขาจุลชีววิทยา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

          ความเชี่ยวชาญ/ผลงาน อดีตเภสัชกรให้คำปรึกษาและแนะนำผลิตภัณฑ์ประจำร้านยา ประสบการณ์เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง กว่า 20 ปี

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับผมร่วง

กินคีโตผมร่วง จริงไหม

          อาการผมร่วงในกลุ่มคนที่กินคีโตเกิดขึ้นได้จริง เนื่องจากน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะการกินคีโตเหมือนเป็นการอดอาหารบางประเภทแบบหักดิบ โดยลดปริมาณการรับประทานคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลลงแบบทันที และค่อนข้างสุดโต่ง จนทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ทำให้เกิดความเครียดขึ้นในระดับเซลล์ ส่งผลให้เซลล์ในร่างกายมีการทำงานที่ผิดปกติ จนทำให้เกิดผมร่วง

กินผงชูรสเยอะ ผมร่วง จริงไหม

          ผงชูรสไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ผมร่วงอย่างที่หลายคนเข้าใจ โดยในปัจจุบัน ยังไม่พบงานวิจัยที่รองรับว่าผงชูรสเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผมร่วง ผงชูรสมีส่วนช่วยให้ผู้รับประทานมีความอยากอาหารมากขึ้นเท่านั้น

ทานยาคุม ผมร่วงจริงหรือ

          คำตอบคือจริง แต่การรับประทานยาคุมไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้ผมร่วง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสตินต่างหากที่เป็นตัวกระตุ้นให้ผมร่วง หากมีอาการผมร่วงผิดปกติแนะนำให้หยุดรับประทานยาคุม 2-3 เดือน อาการผมร่วงอาจจะดีขึ้น

รังแค ทำให้ผมร่วงหรือไม่

          รังแคไม่ได้ทำให้ผมร่วงโดยตรง แต่มีส่วนที่ทำให้เกิดผมร่วงได้ เนื่องจากเป็นผลกระทบจากการมีปัญหาหนังศีรษะ เช่น อาการคัน ความเครียด หรือหนังศีรษะแห้งก็อาจทำให้ผมร่วงได้

สรุป

          ปัญหาผมร่วง เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป และมีสาเหตุการเกิดมาจากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมน พันธุกรรม หรือปัจจัยทำร้ายผิวที่เรียกว่า Exposome ดังนั้นการดูแลจึงต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าว อีกทั้งเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยทำให้หนังศีรษะ และรากผมแข็งแรง ก็จะสามารถช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผมได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

  1. Ali, Cell 2017; 169(6): 1119-1129.e11.
  2. Jin, J Dermatol Sci 2018; S0923-1811(18)30202-0.
  3. Gatherwright, Plast Reconstr Surg 2013; 131(5): 794e-801e.
  4. Nejad, Animals (Basel) 2022; 12(22): 3096.
  5. ผลสำรวจโดย AplusA และผู้ทำการสำรวจร่วมโดยอ้างอิงจากตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์ เวชสาอาง ระหว่าง มกราคม 2021 ถึง ตุลาคม 2021 ซึ่งเป็นผลสํารวจที่มีแพทย์ผิวหนัง ทั้งหมด 34 ประเทศเข้าร่วม โดยสามารถอ้างอิงถึงมากกว่า 80% ของ GDA ทั่วโลก
  6. Loussouarn G, et al. BEDC.1997;5:1-6.