อาหารเป็นสาเหตุของการเกิดสิวได้หรือไม่?

ความสัมพันธ์ระหว่างสิวกับการรับประทานอาหารมักถูกเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆ เราลองมาดูกันว่ามีอาหารประเภทใดบ้างที่อาจเพิ่มโอกาสของการเกิดสิวและสาเหตุมาจากอะไร

อาหารที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิว

แม้ว่าการเลือกรับประทานอาหารของคุณไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่าผิวของคุณเป็นสิวหรือไม่ แต่อาหารเหล่านี้อาจส่งผลต่อการเกิดสิวได้ สิวผด ผิวมัน หรือรอยสิวเดิม[1] เนื่องจากสิว ส่งผลต่อต่อมน้ำมันใต้ผิวหนัง ดังนั้น จึงควรเลี่ยงอาหารที่อาจกระตุ้นให้เกิดสิวจากสาเหตุที่ต่อมน้ำมันทำงานมากเกินไป เพื่อลดตัวการทำให้เกิดสิว ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร จึงอาจช่วยในการค้นหาสาเหตุจากการเกิดสิวที่มาจากอาหารบางชนิด

เนื่องจากอาหารบางชนิดได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นตัวการที่ทำให้เกิดสิวได้ เมื่อบริโภคแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดจะพุ่งสูงขึ้น ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ และยังเพิ่มระดับอินซูลินในเลือด และไปกระตุ้นให้เกิดความมันบนผิวหนังและทำให้เกิดสิว

อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ร่างกายจะดูดซึมได้เร็ว เช่น ขนมปังขาว ซีเรียลแปรรูป ข้าวขาว เพรทเซล มันฝรั่งทอด คุกกี้และเค้ก ล้วนทำให้เกิดสิวได้

นม ก็เป็นอีกชนิดที่ได้รับการระบุว่าส่งผลต่อร่างกายเช่นเดียวกับอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง เนื่องจากนมส่วนใหญ่มาจากแม่นมวัวที่กำลังตั้งครรภ์ จึงมีฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดความมันบนผิวหนัง โกรทฮอร์โมนที่พบในนมสามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ผิว ซึ่งอาจทำให้รูขุมขนอุดตันได้[4] ลองลดปริมาณการบริโภคนม และอาศัยแคลเซียมจากตัวเลือกอื่นหรือเพิ่มอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมสูง อย่าง น้ำส้ม นมถั่วเหลือง เต้าหู้ อัลมอนด์ ผักโขม และบรอคโคลีในแต่ละมื้อ

อาหารบางชนิดได้รับการระบุว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งอาจไปกระตุ้นทำให้เกิดสิวได้เช่นกัน ผลิตภัณฑ์ไขมันต่ำหรือปราศจากไขมันอย่างเช่น โยเกิร์ตไม่มีไขมันหรือชีสไขมันต่ำ มักจะมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบเพื่อเพิ่มรสชาติ ดังนั้น จึงอาจไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบได้
นอกจากนี้ น้ำผลไม้และสมูทตี้ มักมีปริมาณน้ำตาลสูง ไฟเบอร์ต่ำ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดความมันบนผิวหนัง ดังนั้น จึงควรเลือกรับประทานผลไม้ทั้งลูกมากกว่า

ตรงกันข้ามกับความเชื่อที่ผ่านมา แอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต และอาหารมันไม่ได้เป็นตัวการทำให้เกิดสิว อีกทั้งยังไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเป็นสาเหตุทำให้สิวเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การบริโภคแอลกอฮอล์เป็นประจำ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับแบคทีเรียและการติดเชื้อที่อาจทำให้เกิดสิวได้

อาหารที่ช่วยลดตัวการทำให้เกิดสิว

การรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ผัก ธัญพืช และผลไม้ส่วนใหญ่ สามารถช่วยลดความมันผิวได้เนื่องจากมีเบต้าแคโรทีน ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขม สามารถช่วยขับสิ่งสกปรกออกจากร่างกายได้ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ขับออก ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดสิวได้ สําหรับกรดไขมันโอเมก้า 3 ลองรับประทานปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน วอลนัท และเมล็ดแฟลกซ์[8] เพื่อช่วยฟื้นบำรุงผิว ชาเขียวและผลเบอร์รี่เต็มไปด้วยสารแอนตี้อ็อกซิแดนท์ โปรไบโอติกที่พบในโยเกิร์ต กะหล่ําปลีดอง (เซาเออร์เคราท์) ดาร์กช็อกโกแลต ผักดอง กิมจิและชาหมักคอมบูชา ช่วยลดการอักเสบในลําไส้ และยังช่วยให้ผิวกระจ่างใสขึ้นด้วย

แหล่งที่มา:
[1] Kucharska, A. et al, 'Significance of diet in treated and untreated acne vulgaris' in Postepy Dermatology Allergology 33.2 (2016) pp. 81-86
[2] Katta, R. et al, 'Diet and Dermatology: The Role of Dietary Intervention in Skin Disease' in The Journal of Clinical and Aesthetic Dermatology7.7 (2014) pp. 46-51
[3] Katta, R. et al, 'Diet and Dermatology: The Role of Dietary Intervention in Skin Disease' in The Journal of Clinical and Aesthetic Dermatology7.7 (2014) pp. 46-51
[4] Pappas, A. 'The relationship of diet and acne' in Dermato Endocrinology 1.5 (2009) pp. 262-267
[5] Ross, A.C. ‘ Dietary Reference Intakes for Calcium and Vitamin D in Institute of Medicine (US) Committee to Review Dietary Reference Intakes for Vitamin D and Calcium’ (2011)
[6] Katta, R. et al, 'Diet and acne: an exploratory survey study of patient beliefs' in Dermatology Practical & Conceptual 6.2 (2016) pp. 21-27
[7] Kucharska, A. et al, 'Significance of diet in treated and untreated acne vulgaris' in Postepy Dermatology Allergology 33.2 (2016) pp. 81-86
[8] Pappas, A, 'The relationship of diet and acne' in Dermato Endocrinology 1.5 (2009) pp. 262-267