เมื่อพูดถึงผลเสียที่มีสาเหตุมาจากรังสียูวีหรือมลภาวะรอบตัว การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเลือกอาหารที่มีประโยชน์ถือเป็นแนวทางที่ช่วยในการปรับสภาพผิวให้กลับมาเปล่งปลั่งอีกครั้ง อาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านแอนตี้ อ๊อกซิแดนท์ เช่น ตระกูลเบอร์รี่สีแดงและผักใบเขียว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Dr. Nina ยังแนะนำให้หันมาใส่ใจกับการทำความสะอาดเพื่อขจัดสิ่งสกปรกและสิ่งตกค้างที่สะสมมาตลอดวัน - ไม่ว่าจะแต่งหน้าหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างเช่น ต้องทาครีมกันแดด SPF 50 ทุกวัน เพื่อปกป้องผิวจากรังสียูวี อย่างไรก็ตาม ส่วนผสมของ SPF สามารถเกาะบนผิวได้นานจนกว่าจะถูกล้างออกด้วยเจลหรือโฟมทำความสะอาด ดังนั้น จึงต้องมั่นใจว่าได้ทำความสะอาดผิวอย่างหมดจดแล้วจริงๆ เพื่อขจัดสิ่งสกปรกตกค้างที่อยู่บนผิวไม่ว่าจะเป็นมลภาวะจากสภาพอากาศภายนอกหรือสกินแคร์ที่เราใช้ในทุกๆวัน
การผลัดเซลล์ผิวยังช่วยลดปัญหาสิวหัวดำและลดเลือนจุดด่างดำได้ด้วย อีกทั้งยังขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผิวดูหมองคล้ำไม่สดใส วิตามินซี ผ่านการทดสอบแล้วว่ามีส่วนช่วยลดเลือนจุดด่างดำ ดังนั้น หากมีปัญหาเรื่องสีผิวไม่สม่ำเสมอ ลองเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิวที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เพื่อผิวที่ดูกระจ่างใสและเรียบเนียนขึ้น การบำรุงผิวด้วยวิตามินซียังสามารถช่วยลดปัญหาจุดด่างดำหรือความหมองคล้ำได้ด้วย ดังนั้นควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อการบำรุงที่ตรงจุดอย่าง Vichy Liftactiv Vitamin C Brightening Skin Corrector เพื่อบำรุงผิวให้กลับมาดูสดใสอีกครั้ง [5]
แหล่งที่มา:
[1] A Vierkötter. ‘ Environmental pollution and skin aging’ [original article in German] in Der Hautarzt; Zeitschrift für Dermatologie, Venerologie, und verwandte Gebiete หน้า 62.8 (2554). 577-581.
[2] Goldsmith, L.A ‘Skin effects of air pollution’ in Otolaryngology and head and neck surgery 114.2 (1996) pp. 217-219
[3] Pham, D.-M., B. Boussouira, D. Moyal, and Q.l. Nguyen. "Oxidization of squalene, a human skin lipid: a new and reliable marker of environmental pollution studies." International Journal of Cosmetic Science 37.4 (2015): 357-65. Web.
[4] Soeur, J., Belaïdi, J. P., Cchollet, C., Denat, L., Dimitrov, A., Jones, C., ... & Erdmann, D. (2560). Photo-pollution stress in skin: Traces of pollutants (PAH and particulate matter) impair redox homeostasis in keratinocytes exposed to UVA1. Journal of Dermatological Science, 86(2), 162-169.
[5] Telang, P. ‘Vitamin C in Dermatology’ in Indian Dermatology Online Journal 4.2 (2013) pp. 143-146