“รังแค (Dandruff)” เกิดขึ้นได้อย่างไร และต้องดูแลอย่างไรไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ

รังแค ปัญหาสำคัญที่มีมากกว่าอาการคันหัว ถึงแม้ว่าการเป็นรังแคจะไม่ได้เป็นโรคติดต่อ หรือส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาการคันที่เกิดขึ้นทำให้เกิดผลเสียหลายอย่างกับผู้ที่มีอาการนี้ ไม่ว่าจะเป็นรอยสะเก็ดต่าง ๆ ที่ปรากฎบนหนังศีรษะ หรือบริเวณโคนผม บ่าไหล่ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพและสุขภาพจิตได้ ดังนั้นการไม่เป็นรังแคย่อมดีกว่า เราจึงควรเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับรังแค เพื่อหาสาเหตุว่ารังแคเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงวิธีป้องกันพร้อมกับการดูแลไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน:




รังแค คืออะไร



รังแค (Dandruff) คือ ภาวะเรื้อรังของอาการผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่งที่ทำให้ผิวหนังลอก เป็นขุย หรือมีสะเก็ดขาวบนหนังศีรษะ อาจมีอาการแดง คัน ที่ความรุนแรงอาจแตกต่างกันไปตามอาการ โดยสะเก็ดที่เกิดขึ้นสามารถพบได้บริเวณเส้นผม โคนผม คิ้ว ไรผม ใบหู หรืออาจหลุดร่วงมาเกาะบนเสื้อผ้าบริเวณบ่าและไหล่ จึงส่งผลต่อบุคลิกภาพเมื่อต้องสวมเสื้อที่มีสีเข้ม เพราะจะทำให้มองเห็นรังแคชัดเจนมากขึ้น

รังแค เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และทำให้ผู้ที่มีรังแคขาดความมั่นใจ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใส่เสื้อผ้า ก็ต้องหลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าสีเข้ม หรือหากมีรังแคเกาะอยู่ตามเส้นผมก็จะทำให้เราดูไม่ดี ในคอนเทนต์นี้เราจะมาทำความรู้จักกับรังแคให้มากขึ้น เพื่อเรียนรู้ว่าการเกิดรังแคมีสาเหตุมาจากอะไร และต้องดูแลอย่างไร'


สรุปปัจจัยที่ทำให้เกิดรังแคแบบง่าย ๆ เกิดจากสาเหตุอะไร



หนังศีรษะของเรา ประกอบไปด้วยต่อมไขมันจำนวนมาก แต่จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านกรรมพันธุ์ และเพศด้วย จึงทำให้แต่ละคนมีสภาพหนังศีรษะที่แตกต่างกัน แห้ง มัน ไม่เท่ากัน พบว่าคนที่มีหนังศีรษะมันมักจะมีปัญหารังแคมากกว่าคนที่มีหนังศีรษะแห้ง ทั้งนี้สาเหตุการเกิดรังแคมาจากหลากหลายปัจจัยซึ่งเราจะมาคุยกันต่อไป

รังแค คือ ปัญหาการอักเสบของหนังศีรษะ จนกระทั่งชั้นปราการผิวของหนังศีรษะ ซึ่งถูกทำลายและหลุดลอกเป็นขุย โดย 3 ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดรังแค มีดังนี้

การไม่สมดุลของจุลินทรีย์บนหนังศีรษะ



ความสมดุลของจุลินทรีย์บนหนังศีรษะ หรือที่เราเรียกว่าสมดุลของ “ไมโครไบโอม” นั่นเอง โดยพบว่า เจ้าเชื้อราตัวดี ที่ชื่อว่า Malassezia restricta เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดรังแค เพราะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นกว่า 10 เท่าในคนที่เป็นรังแค และทำให้สมดุลของจุลินทรีย์ชนิดอื่นที่เป็นตัวดี มีปริมาณลดลงด้วย เช่น Cutibacterium acnes

การผลิตน้ำมันที่มากผิดปกติของต่อมไขมัน



โดยปกติ sebum หรือไขมันตามธรรมชาติจะเคลือบคลุมผิวและให้ความชุ่มชื้นกับผิว แต่ถ้ามีมากเกินปกติจะทำให้เชื้อรา Malassezia เพิ่มจำนวนได้มากยิ่งขึ้นและนำเอาไขมันเหล่านี้ไปเป็นอาหาร สุดท้ายมีการขับของเสียออกจากตัวเชื้อรา กลายเป็นสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบขึ้น

ชั้นปราการผิวถูกทำลายและเสียสมดุล



โดยที่สารก่อการอักเสบในข้อ 2 ทำให้ชั้นปราการผิวถูกทำลาย และเมื่อถูกทำลายอย่างต่อเนื่องเซลล์ผิวด้านบนสุดจึงหลุดลอกออกมากลายเป็นขุยของรังแคนั่นเอง ดังนั้น การจัดการกับรังแค ควรที่จะจัดการให้ครบทั้ง 3 ปัจจัยข้างต้นนั่นเอง เพื่อให้รังแคกลับมาเป็นซ้ำได้ยากขึ้น


อาการของรังแคที่พบได้ทั่วไป



อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่ารังแคเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งล้วนทำให้เกิดการระคายเคืองกับผิวหนังบนศีรษะ ซึ่งเป็นอาการหลัก ๆ ที่บ่งชี้ให้เห็นว่าเป็นอาการของรังแค โดยเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเหมือนกับที่เกิดบนผิวหนังส่วนอื่น ๆ อาการของรังแคที่สังเกตเห็นได้โดยทั่วไป มีดังนี้

หนังศีรษะแห้ง



อาการหนังศีรษะแห้งมักจะมาพร้อมกับอาการคัน ซึ่งเป็นสัญญาณแรก ๆ ที่ทำให้สังเกตเห็นว่าอาจเกิดอาการระคายเคืองบนหนังศีรษะ ซึ่งนำไปสู่การเกิดรังแค โดยจะทำให้รู้สึกตึง ๆ บนหนังศีรษะ จึงทำให้อดไม่ได้ที่จะเกาศีรษะเมื่อหนังศีรษะแห้งและมีอาการคัน แม้ว่าอาการที่เกิดขึ้นจะไม่ได้นำไปสู่การเกิดรังแคทุกครั้ง แต่ก็ควรหาวิธีดูแลหนังศีรษะเพื่อช่วยลดอาการระคายเคืองที่เกิดขึ้น

อาการคัน



คนที่เป็นรังแคมักจะมีอาการคันศีรษะ หนังศีรษะมันแดง หรือเป็นสะเก็ด อาการคันที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังจะเป็นรังแค และอาจจะจะมีสะเก็ดรังแคเกิดขึ้นตามมา เมื่อมีอาการคันเกิดขึ้นให้ตั้งข้อสงสัยได้เลยว่าคุณอาจจะเป็นรังแคได้ จึงควรรีบหาทางดูแลเพื่อจะได้หาทางแก้ไขก่อนที่อาการของรังแคจะมีมากขึ้น

สะเก็ดสีขาวหรือเหลือง



การมีสะเก็ดสีขาวหรือเหลืองเกิดขึ้นบนหนังศีรษะ นับเป็นอาการบ่งชี้ที่เด่นชัดที่สุด ซึ่งทำให้สันนิษฐานได้ในทันทีว่าน่าจะเป็นรังแค โดยสะเก็ดที่เกิดขึ้นมักจะมีลักษณะเป็นแผ่นแบนและบาง มักพบบนหนังศีรษะ เส้นผม โคนผม แล้วล่วงหล่นบนส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณหัวไหล่ บ่า ซึ่งขนาดที่พบจะมีได้ทั้งรังแคแผ่นเล็กไปจนถึงรังแคแผ่นใหญ่


เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์


คนที่เป็นรังแคนั้นอาจไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เพราะรังแคเป็นอาการอักเสบที่เกิดขึ้นกับผิวหนังบนศีรษะ ซึ่งไม่ได้เป็นอาการบ่งชี้ว่าเป็นโรคติดต่อร้ายแรง แต่อาจทำให้สูญเสียความมั่นใจ เพราะการมีสะเก็ดบนหนังศีรษะนั้นส่งผลต่อบุคลิกภาพ เนื่องจากการต้องยกมือขึ้นมาเกาศีรษะบ่อย ๆ อาจทำให้ดูไม่ดี อีกทั้งเมื่อมีสะเก็ดร่วงบนเสื้อผ้าก็จะยิ่งทำให้สูญเสียความมั่นใจมากขึ้นไปอีก

คนที่เป็นรังแค จึงยังไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ เพราะสามารถรักษาให้หายได้ด้วยตัวเองได้ ซึ่งมีวิธีการหลายอย่างที่สามารถนำมาใช้ดูแลหนังศีรษะที่เป็นรังแคได้ แต่ถ้ารักษาด้วยตัวเองแล้วภายในเวลา 1 เดือนแต่ยังไม่ดีขึ้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพราะโรคผิวหนังบางอย่างนั้นมีอาการใกล้เคียงกับรังแค จึงควรให้แพทย์ช่วยวินิจฉัยเพื่อดูแลอาการต่อไป


วิธีการรักษารังแคมีอะไรบ้าง


ไม่ว่าจะมีแนวโน้มที่จะเป็นรังแคหรือไม่ก็ตาม แต่ใคร ๆ ก็อาจเป็นรังแคได้ เพราะรังแคสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ แม้ว่าจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าก็ตาม โดยเมื่อเป็นแล้วสามารถรักษาให้หายได้ด้วยตัวเอง ซึ่งมีวิธีง่าย ๆ ที่นำมาฝากกัน ดังนี้

ยาทาผิวหนัง



ในกรณีที่หนังศีรษะเกิดการอักเสบ หลังจากสระผมแล้วให้ใช้ยาทากลุ่มคอติโคสเตอรอยด์ชนิดน้ำทา โดยทาบริเวณหนังศีรษะ ใช้นิ้วเกลี่ยเบา ๆ โดยให้ทายาวันละ 1-2 ครั้ง ก็จะช่วยลดอาการอักเสบลงได้

ยารับประทาน



การใช้ยารับประทานสำหรับรักษารังแคนั้น ต้องใช้ยาภายใต้การควบคุมของแพทย์ โดยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้วินิจฉัยแล้วจ่ายยาเพื่อรักษาอาการ

สระผมให้บ่อยขึ้น



การสระผมให้สะอาดเป็นอีกหนึ่งวิธีขจัดรังแค เพราะการสระผมนอกจากจะช่วยให้ผมสะอาดแล้ว ยังเป็นการช่วยลดความมันส่วนเกินบนหนังศีรษะ แต่ก็ไม่ควรสระผมด้วยน้ำอุ่น เพราะจะทำให้หนังศีรษะแห้งคัน ซึ่งอาจทำให้การเป็นรังแคแย่ลงกว่าเดิม จึงควรสระผมให้บ่อยครั้งขึ้น ประมาณ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์

ใช้ยาหรือแชมพู ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ



การใช้แชมพูขจัดรังแค เป็นวิธีที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพราะผลิตภัณฑ์แชมพูขจัดรังแคเป็นสิ่งที่สามารถหาซื้อได้ง่าย โดยส่วนผสมสำคัญในแชมพูขจัดรังแคนั้นประกอบไปด้วย

• ซีลีเนียม (Selenium)
• ซิงค์ไพริไทออน (Zinc Pyrithione)
• ยาคีโตโคนาโซล
• น้ำมันดิน (Coal tar)
• กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid)


ซึ่งเป็นส่วนผสมที่ช่วยชะลอการผลัดเซลล์ผิว ลดเชื้อราบนหนังศีรษะ และลดการอักเสบของผิวหนังได้


แชมพูขจัดรังแค แนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ



ผลิตภัณฑ์แชมพูป้องกันและขจัดรังแค จาก Vichy



Vichy เวชสำอางจากประเทศฝรั่งเศส ที่มีแพทย์ผิวหนังกว่า 50000 คนทั่วโลกมั่นใจแนะนำให้ใช้1 เปิดตัว DERCOS Dermatological Scalp and Hair Expert ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะที่ช่วยขจัดรังแค เห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้2 นอกจากจะขจัดรังแคได้แล้วยังช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้อีกด้วย

แชมพูขจัดรังแค


Dercos DS มาพร้อมกับสูตรที่เหมาะสำหรับหนังศีรษะบอบบางมีแนวโน้มระคายเคืองง่าย Hypoallergenic ให้เนื้อสัมผัสฟองโฟมนุ่ม สบายหนังศีรษะ รู้สึกสะอาดปราศจากรังแค อีกทั้งปราศจากปัจจัยที่จะทำให้เกิดการระคายเคือง เพราะปราศจากสารกันเสียพาราเบน และแอลกอฮอล์ คนที่ผิวแพ้ง่ายจึงใช้ได้อย่างสบายใจ

คุณสมบัติ



Dercos DS ผสานการทำงานของ Selenium Disulfide 1% ซึ่งเป็นสารที่มีการยอมรับในทางการแพทย์ ในการจัดการกับเชื้อ Malassezia และมีส่วนช่วยปรับสมดุลของไมโครไบโอมบนหนังศีรษะให้กลับมาสุขภาพดีอีกครั้ง2 นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมของ Salicylic acid 1% ที่ช่วยผลัดเซลล์ผิว อีกทั้งลดขุยของรังแคที่เกาะติดอยู่บนหนังศีรษะ ทำให้หนังศีรษะสะอาดยิ่งขึ้นหลังจากใช้ครบ 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมที่ช่วยลดความมันบนหนังศีรษะ และทำให้ชั้นปราการผิวแข็งแรงขึ้น อย่างวิตามิน อี และ เซราไมด์ อาร์ จึงช่วยทำให้ลดโอกาสเกิดขุยรังแคได้ดียิ่งขึ้น

จึงเป็นแชมพูที่ช่วยทำความสะอาดเส้นผมและดูแลศีรษะของคนที่เป็นรังแคโดยเฉพาะ

  • ช่วยปรับสมดุลความมันบนหนังศีรษะ
  • ช่วยขจัดรังแคอย่างประสิทธิภาพ
  • ช่วยฟื้นบำรุงหนังศีรษะและเส้นผมให้ชุ่มชื้น

วิธีการใช้



สำหรับวิธีการใช้นั้น แนะนำให้สระผมครั้งแรกเพื่อล้างความมันส่วนเกินและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกไปก่อน ส่วนการสระรอบที่ 2 ให้ขยี้แชมพู Dercos DS จนเกิดฟองและฟอกทิ้งไว้ 2 นาทีเพื่อให้แชมพูทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

สำหรับความถี่ในการสระนั้น ช่วงที่เป็นรังแค เดือนแรกให้ใช้แชมพู Dercos DS วันเว้นวัน (โดยวันที่เว้น อาจสระด้วยแชมพูสูตรอ่อนโยนทั่วไปได้ สำหรับคนที่ชอบสระผมทุกวัน) หลังจากครบ 1 เดือนแล้ว เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ แนะนำให้ใช้แชมพู Dercos DS สระอย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง พบว่าสามารถป้องกันการกลับเป็นซ้ำของรังแคได้ยาวนานถึง 6 สัปดาห์2


ประวัติเภสัชกร ผู้เชี่ยวชาญของ Vichy



เภสัชกร บดินทร์ หลักทอง เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณของ Vichy

w735 20220704 skyhigh 8 v02


วุฒิการศึกษา


• เภสัชศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฉพาะทางสาขาเทคโนโลยีเภสัชกรรมเครื่องสำอาง และวิชาเลือกสาขาจุลชีววิทยา
• บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


ความเชี่ยวชาญ / ผลงาน


• ประสบการณ์เภสัชกรให้คำปรึกษา และแนะนำผลิตภัณฑ์ประจำร้านยา
• ประสบการณ์เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังกว่า 20 ปี


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ รังแค


รังแคเกิดจากอะไร?



รังแค เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น กรรมพันธุ์ ฮอร์โมน ความเครียดทางอารมณ์ การใช้สารเคมีทำสีผม หรือแพ้จากแชมพูที่ใช้ รวมถึงเชื้อราบนหนังศีรษะด้วย จึงทำให้เกิดอาการคัน ผิวหนังลอกเป็นขุย หรือมีสะเก็ดขาวบนหนังศีรษะ

สาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้เกิดรังแค?



การเกิดรังแค ทำให้หนังศีรษะเกิดการอักเสบ จนกระทั่งชั้นปราการผิวของหนังศีรษะซึ่งถูกทำลายและหลุดลอกเป็นขุย โดยเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การไม่สมดุลของจุลินทรีย์บนหนังศีรษะ การผลิตน้ำมันที่มากผิดปกติของต่อมไขมัน ชั้นปราการผิวถูกทำลายและเสียสมดุล

รังแคทำให้ผมร่วง ผมบางได้ด้วยจริงไหม



การเป็นรังแคไม่ได้ทำให้เกิดผมร่วง แม้ว่าบางครั้งจะรู้สึกว่าเกิดผมร่วงด้วย แต่ก็ไม่ใช่ทุกครั้งที่เป็นรังแคแล้วจะทำให้มีผมร่วงตามมา การที่มีผมร่วงอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย แต่การเป็นรังแคไม่ได้ทำให้เกิดผมร่วงหรือผมบาง

การแคะ หรือเกาให้รังแคหลุดออกจากหนังศีรษะ จะช่วยให้รังแคลดลงหรือไม่?



เมื่อเป็นรังแคควรหลีกเลี่ยงการเกา หรือแคะสะเก็ดที่อยู่บนหนังศีรษะ เพราะจะยิ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการหลุดลอกของหนังศีรษะ และทำให้เป็นขุยมากขึ้น


สรุป



ปัญหารังแค นอกจากความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ หรือ ไมโครไบโอมบนหนังศีรษะแล้ว ยังมีเรื่องของสมดุลไขมัน และปราการผิวที่ไม่แข็งแรงอีกด้วย และที่มองข้ามไม่ได้เลยคือปัจจัย Exposome ต่าง ๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นให้รังแคกำเริบได้ง่าย อย่างเช่น รังสียูวี การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เช่น อากาศเย็น หรือคนที่อยู่ห้องแอร์เป็นประจำ ความเครียดสะสม หรือ คนที่นอนน้อยนอนไม่พอ รวมไปถึง การสระผมตอนกลางคืนแล้วเป่าผมไม่แห้งสนิทก่อนที่จะนอน ยังเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมที่ทำให้รังแคเกิดง่ายขึ้น ดังนั้น นอกจากจะเลือกใช้แชมพูขจัดรังแคที่สามารถจัดการได้ทั้ง 3 สาเหตุ อย่างเช่น Dercos DS แล้ว ก็ยังต้องปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้เหมาะสมและหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น Exposome ต่าง ๆ อีกด้วย


  1. ผลสำรวจโดย AplusA และผู้ทำการสำรวจร่วมโดยอ้างอิงจากตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์ เวชสาอาง ระหว่าง มกราคม 2021 ถึง ตุลาคม 2021 ซึ่งเป็นผลสํารวจที่มีแพทย์ผิวหนัง ทั้งหมด 34 ประเทศเข้าร่วม โดยสามารถอ้างอิงถึงมากกว่า 80% ของ GDA ทั่วโลก
  2. Cécile Clavaud, Céline Michelin, Sayeh Pourhamidi, Sarah Ziane, Charles El Rawadi, Benoît Muller. Selenium disulfide: a key ingredient to rebalance scalp microbiome and sebum quality in the management of dandruff.