ผลิตภัณฑ์นมกับสิวมีความสัมพันธ์กันหรือไม่?

นมในกาแฟทำให้เกิดสิวได้หรือไม่? เราลองมาดูความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างผลิตภัณฑ์นมและสิวกัน สิ่งนี้มีความสำคัญต่อผิวของคุณอย่างไร

สิวคืออะไร แล้วทำไมบางคนจึงประสบปัญหากับเรื่องนี้?

คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่านมอาจทำให้คุณเป็นสิวได้? ในทางวิทยาศาสตร์แล้ว ข้อมูลนี้อาจเป็นจริง การศึกษาวิจัยบ่งชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์นมกับปัญหาสิวนั้นมีความสัมพันธ์กัน แต่ก่อนที่คุณจะงดผลิตภัณฑ์จากนมทั้งหมดเพื่อผิวของคุณนั้น โปรดอ่านต่อเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่าเรื่องนี้อาจส่งผลต่อคุณหรือไม่ และคุณจะจัดการกับปัญหาสิวที่ปรากฏขึ้นมาได้อย่างไร

สิวคืออะไร แล้วทำไมบางคนจึงประสบปัญหากับเรื่องนี้?

สิวเป็นภาวะที่มีการอักเสบ ซึ่งมีน้ำมันเข้าไปอุดตันในรูขุมขน (1) ซึ่งทำให้แบคทีเรียเติบโตขึ้น ก่อให้เกิดการอักเสบ และส่งผลให้เกิดรอยแดงบนผิวหนัง สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดสิวนั้นยังไม่เป็นที่ชัดเจน แต่นักวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่ามีหลายปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดสิวได้ ฮอร์โมน การผลิตซีบัมหรือน้ำมันส่วนเกิน ความเครียดทางอารมณ์ และไมโครไบโอมของผิวหนังนั้นเป็นปัจจัยเพียงบางส่วนเท่านั้น
ปัจจัยที่มีส่วนสนับสนุน เช่น พันธุกรรมและประเภทผิวก็มีบทบาทเช่นกัน แต่เหตุใดพวกเราบางคนจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นสิวมากกว่า ในขณะที่คนอื่นๆ กลับไม่เป็นสิว ความเป็นไปได้อีกประการหนึ่งคือ การรับประทานอาหาร โดยมีการศึกษาวิจัยที่บ่งชี้ว่าการรับประทานอาหารกับปัญหาสิวมีความสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนผสมของนม(2)

ผลิตภัณฑ์นมเหมาะที่จะบริโภคได้อย่างไร?

ผลิตภัณฑ์จากนมมีการพิสูจน์พบว่ามีส่วนในการกระตุ้นการผลิตไขมัน อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดสิว ความมันบนผิวหน้าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดูแลผิวให้ดูสุขภาพดี เพราะความมันบนผิวนี้ช่วยทำให้ผิวมีความชุ่มชื้นและปกป้องเกราะป้องกันผิวให้สมดุล (3) แต่เมื่อเกิดความไม่สมดุลของความมันบนผิว - มีความมันมากเกินไปหรือน้อยเกินไป - ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาผิว (4) ผลิตภัณฑ์ประเภทนมจึงเข้ามามีบทบาทในเรื่องดังกล่าว

เมื่อบริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนมชนิดอื่นๆ อาจทำให้ตับมีการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน-ฮอร์โมนการเจริญเติบโตชนิดหนึ่ง พุ่งสูงขึ้น
ฮอร์โมนอินซูลินนี้เอง ทำให้ระดับความมันเพิ่มขึ้น จนนำไปสู่การเกิดภาวะอุดตันของรูขุมขน

ยิ่งไปกว่านั้น นมที่บริโภคกันส่วนใหญ่ มักมาจากวัวที่ตั้งครรภ์และมีฮอร์โมนที่คล้ายอินซูลินในปริมาณมาก (6)

แม้ว่าฮอร์โมนที่อยู่ในนมเหมาะสมกับพัฒนาการของวัวแรกเกิด แต่ทว่ากลับส่งผลเสียต่อผู้ที่เป็นสิวง่าย เพราะจะไปเร่งการผลิตไขมันและเพิ่มการอักเสบของผิว

นมวัวเป็นผลิตภัณฑ์นมอย่างเดียวที่ก่อให้เกิดสิวหรือไม่?

จนถึงตอนนี้ มีการศึกษาที่พบว่านมวัวมีส่วนทำให้เกิดสิว เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์นมชนิดอื่นๆ แต่ยังไม่มีการยืนยันว่าชีสกับโยเกิร์ตมีส่วนทำให้เกิดสิว ในทางตรงกันข้าม โยเกิร์ตมีโปรไบโอติก (probiotics) ที่ช่วยลดการอักเสบและสมานผิวได้(7)

ก่อนที่จะมองหานมไขมันต่ำ/พร่องมันเนย ต้องให้แน่ใจว่าทางเลือกเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ากระตุ้นให้เกิดสิวหรือไม่เช่นกัน (8) เนื่องจากกระบวนการกำจัดไขมันออกจากนมวัว มักจะกำจัดกรดไขมันและสารอาหารที่มีประโยชน์ซึ่งมีคุณสมบัติในต้านการอักเสบ โดยนมแปรรูปมีความเข้มข้นของฮอร์โมนมากกว่านมพร่องมันเนย เวย์โปรตีน ซึ่งพบในนมไขมันต่ำ/พร่องมันเนย เชื่อว่าจะไปกระตุ้นระดับอินซูลินและกระตุ้นการผลิตไขมันส่วนเกินบนผิว!(9)

วิธีจัดการสิวที่ดีที่สุดคืออะไร?

หากคุณมีปัญหาสิวหรือมีผิวเป็นสิวง่าย ลองงดรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมเพื่อสังเกตดูว่าผิวจะมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร วิธีอื่นๆที่สามารถจัดการสิวได้ ได้แก่ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่เพียงแต่ช่วยให้รู้สึกสบายผิว แต่ยังทำให้รูขุมขนไม่อุดตันด้วย

หลีกเลี่ยงการผลัดเซลล์ผิวมากเกินไป
เพราะอาจเสี่ยงต่อผู้ที่เป็นสิวที่คิดว่าการผลัดเซลล์ผิวบ่อยๆ จะช่วยขจัดความมันส่วนเกินบนผิวหนัง แต่การผลัดเซลล์ผิวมากเกินไปอาจทำให้ผิวแห้ง ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการผลิตซีบัม จึงอาจนําไปสู่การสิวได้

รักษาความชุ่มชื้นให้ผิวด้วยมอยส์เจอไรเซอร์ที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน
จําไว้ว่าแม้แต่ผิวมันก็ต้องการมอยเจอร์ไรเซอร์เช่นกัน (เนื่องจากความมันส่วนเกินไม่ได้หมายความว่าผิวชุ่มชื้น)
นอกจากนี้ อาจเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตเพื่อจัดการและป้องกันการเกิดสิว อันได้แก่:

ใส่ใจเรื่องสุขอนามัย
เปลี่ยนปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนเป็นประจําเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย

การดื่มน้ำปริมาณมาก
นอกจากประโยชน์ในการให้ความชุ่มชื้นแล้ว น้ํำยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดผ่านร่างกายและผิวหนังด้วย

รับประทานอาหารจำพวกวอลนัท อะโวคาโด น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ และปลาแซลมอน
อาหารดังกล่าวควบคุมโมเลกุลที่ทำหน้าที่ผลิตความมัน ซึ่งช่วยลดโอกาสของการเกิดสิว อยากได้ผิวกระจ่างใสขึ้น? ใช่เลย

แหล่งที่มา:
1: Kucharska, A. et al, "Significance of diet in treated and untreated acne vulgaris" in Advances in Dermatology and Allergology 33.2 (2016) pp. 81-86
2: Ulvestad, M. et al, "Acne and dairy products in adolescence: results from a Norwegian longitudinal study" in Journal of the European Academy of Dermatology and Venereology 31.3 (2017) pp. 530-535
3. Pappas, A. et al, 'Sebum analysis of individuals with and without acne' in Dermato Endocrinology 1.3 (2009) pp. 1576161
4. Pappas, A. "The relationship of diet and acne" in Dermato Endocrinology 1.5 (2009) pp. 262-267
5. Bowe, W.P. "Growing evidence suggests possible link between diet and acne" in American Academy of Dermatology Association (2013)
6. Pappas, A. "The relationship of diet and acne" in Dermato Endocrinology 1.5 (2009) pp. 262-267
7. Bowe, W.P. et al, 'Acne vulgaris, probiotics and the gut-brain-skin axis - back to the future?' in Gut Pathogens 3.1 (2011)
8. LaRosa, C.L. et al, "Consumption of dairy in teenagers with and without acne" in American Academy of Dermatology 75.2 (2016) pp. 318-322
9. Danby, F.W. "Acne: Diet and acnegenesis" in Indian Dermatology Online Journal (2011) 2.1 pp.2-5