สิวฮอร์โมนคืออะไรและขั้นตอนการดูแลผิวสามารถช่วยได้อย่างไร?

คุณคิดว่าสภาพผิวที่ไม่ดีมีแค่เฉพาะในวัยรุ่นใช่หรือไม่? ลองคิดใหม่อีกครั้ง สำหรับผู้หญิงหลายๆ คน รอบประจําเดือนมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาสิว* *สิวเสี้ยน สิวอุดตัน นี่คือสิ่งที่คุณควรรู้ เพื่อดูแลปัญหาอย่างตรงจุด

อะไรคือสิวฮอร์โมนและต้นเหตุของการเกิดสิวในผู้หญิง?

ผู้หญิงหลายคนต้องเผชิญกับปัญหาสิว ที่จริงแล้ว สัดส่วนของผู้หญิงที่เป็นสิวง่ายนั้น มีจำนวนสูงกว่าผู้ชายที่มีอายุเท่ากันในทุกช่วงอย่างมีนัยสำคัญ (1) ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลายชนิดที่เกิดขึ้นตลอดวัย โดยทั่วไปเชื่อกันว่า สิวมักจะเกิดเฉพาะผู้ที่มีผิวมันเท่านั้น แต่ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป ยังมีผู้ที่มีปัญหาสิวโดยมีสาเหตุมาจากผิวแห้ง (2)

การเกิดสิวในช่วงวัยรุ่นมีสาเหตุมาจากปริมาณของแอนโดรเจน (androgen) ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความมัน อย่างไรก็ตาม ผลจากการมีประจำเดือนทำให้ระดับฮอร์โมนมีความผันผวน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวในผู้หญิงวัยรุ่น หรือที่รู้จักกันว่าสิวฮอร์โมน (1)

สาเหตุของการเกิดสิวฮอร์โมนมาจากไหน?

มีฮอร์โมนหลายชนิดที่ก่อให้เกิดสิว สิวฮอร์โมนเกิดจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone) ผู้ที่เป็นสิวจำนวนมาก มักเผชิญปัญหาผิวผลิตน้ำมันมากเกินไป ซึ่งเป็นผลจากปฎิกิริยาที่เกิดขึ้นบริเวณรูขุมขนที่สร้างน้ำมันออกมา(4) เชื่อกันว่า สิวที่เกิดขึ้นในวัยรุ่นผู้หญิงมีสาเหตุมาจากทางพันธุกรรม (5) นอกจากนี้ ผู้หญิงจำนวนมากมักเผชิญปัญหาการเกิดสิวก่อนมีประจำเดือน ซึ่งเมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนอย่าง เอสโตรเจน (estrogen) (ซึ่งมีหน้าที่พัฒนาและควบคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง) และโปรเจสเตอโรน (progesterone) (ซึ่งส่งผลต่อการเกิดรอบเดือนและในช่วงตั้งครรภ์)

จะทราบได้อย่างไรว่ากําลังเป็นสิวฮอร์โมนหรือไม่?

ปัญหาสิวในแต่ละคนต่างกัน โดยจำเป็นต้องระบุสาเหตุของการเกิดสิว (ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมน การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ไม่ถูกต้อง พันธุกรรม ความเครียดหรือยา) เพื่อดูแลปัญหาสิว สิวที่เกิดขึ้นซ้ำพบได้ในร้อยละ 75-85 ของผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ในขณะที่สิวในวัยผู้ใหญ่นั้นพบได้น้อยกว่า โดยเกิดขึ้นร้อยละ 20-40%(2) เป็นไปได้ที่จะกล่าวว่าผู้ที่มีสิววัยรุ่นและสิวฮอร์โมนมีความสัมพันธ์กันสูงแต่ก็ไม่ใช่ข้อกําหนดเบื้องต้น

คุณอาจกําลังเป็นสิวฮอร์โมนหาก:

เกิดสิวขึ้นบริเวณคางและแนวกราม
หากคุณสังเกตเห็นสิวขึ้นจำนวนมากบริเวณรอบใบหน้าส่วนล่าง ก็น่าจะเป็นสิวฮอร์โมน ฮอร์โมนส่วนเกินในร่างกายระตุ้นต่อมไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ตรงบริเวณคาง บริเวณอื่นที่อาจเกิดสิวประเภทนี้ ได้แก่ ด้านข้างของใบหน้าและหรือตามลําคอ(2)

การเกิดสิวประเภทนี้มีลักษณะเป็นสิวซีสต์ที่รู้สึกเจ็บมากกว่าสิวหัวดําและสิวหัวขาว
นอกจากจะรู้สึกว่าหัวสิวฝังลึกกว่าสิวชนิดอื่นแล้ว ยังมักทำให้รู้สึกเจ็บมากกว่าและไวต่อการสัมผัส เป็นเพราะสิวสะสมน้ำมันเป็นเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์และอาจทําให้เกิดอาการอักเสบสะสม

สิวประเภทนี้เกิดขึ้นเดือนละครั้ง
สิวฮอร์โมนเกิดขึ้นในรูปแบบวัฏจักรตามรอบประจําเดือน โดยมักจะเกิดขึ้นที่เดิมเพราะสิวครั้งก่อนขยายรูขุมขนให้ใหญ่ขึ้น

สิวประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อคุณรู้สึกเครียด
คอร์ติซอลหรือที่เรียกว่าฮอร์โมนความเครียดเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณของการอักเสบที่พบได้ทั่วไปในสิว

สิวฮอร์โมนกับสิววัยรุ่นต่างกันอย่างไร? ไม่ระบุ

แน่นอน แต่ละประเภทก็มีลักษณะที่แตกต่างกันไป สิวฮอร์โมนแตกต่างจากสิวในวัยรุ่นที่ลักษณะของการอักเสบ จะอักเสบเพียงเล็กน้อยถึงปานกลางเท่านั้น และมักจะอยู่บริเวณด้านล่างของใบหน้า แนวกราม และลำคอ(5)

ในขณะที่สิววัยรุ่นมักมีลักษณะเป็นสิวหัวขาว สิวหัวดำ และสิวอักเสบบริเวณใบหน้า คอ ไหล่ หน้าอก หลัง ไหล่ และต้นแขน

ขั้นตอนสำคัญของการบำรุงผิวสำหรับผู้ที่มีสิวฮอร์โมน

1. ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เหมาะกับผิวคุณและใช้ให้ต่อเนื่อง
2. เลือกใช้เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำให้เกิดอาการอุดตันเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดรูขุมขนอุดตัน
3. ปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนของ skincare routine อย่างสม่ำเสมอ เริ่มจากการใช้คลีนเซอร์ ผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิวที่อ่อนโยนเพื่อขจัดเซลล์ที่ตายแล้วออกและป้องกันการอุดตัน
4. ล้างหน้าทุกเช้าเย็น เพื่อขจัดสิ่งสกปรก น้ำมัน และแบคทีเรียอื่นๆ

แหล่งที่มา:
1. Ebede, T.L. et al, 'Hormonal Treatment of Acne in Women' in The Journal of Clinical and Aesthetic Dermatology 2.12 (2009) pp. 16-22
2. Zeichner, J.A. et al, 'Emerging Issues in Adult Female Acne' in The Journal of Clinical and Aesthetic Dermatology 10.1 (2017) pp. 37-46
3. Elsaie, M.L. 'Hormonal treatment of acne vulgaris: an update' in Clinical, Cosmetic and Investigational Dermatology 9 (2016) pp.241-248
4. Ghosh, S. et al, 'Profiling and Hormonal Therapy for Acne in Women' in Indian Journal of Dermatology 59.2 (2014) pp. 107-115
5. Geller, L. et al, 'Perimenstrual Flare of Adult Acne' in The Journal of Clinical and Aesthetic Dermatology 7.8 (2014) pp. 30-34