ฉันควรไปพบแพทย์บ่อยแค่ไหนในช่วงวัยหมดประจําเดือน

ในช่วงวัยหมดประจําเดือน อาจต้องไปพบแพทย์บ่อยขึ้นเพราะคุณอาจรู้สึกว่าคุณมีคําถาม ความกังวล หรือสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของคุณมากขึ้น ดังนั้น คุณอาจรู้สึกว่าอยากปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญมากขึ้น

Dr. Lorraine Maitrot

นรีแพทย์

การเปลี่ยนแปลงของร่ายกายคุณในช่วงวัยหมดประจำเดือน

คำถามที่ว่าคนๆ หนึ่งควรไปพบนรีแพทย์บ่อยแค่ไหนนั้น เป็นคำถามที่อาจเข้าใจได้ยากในขณะที่คุณมีอายุ 20 หรือ 30 ปี แต่ว่าเมื่อมีอายุมากขึ้น ผู้หญิงแต่ละคนล้วนประสบกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงตามวัย และเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแตกต่างกันไป
อย่างไรก็ตาม การพบนรีแพทย์เป็นเรื่องที่จำเป็น เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างในช่วยวัยหมดประจำเดือนอาจส่งผลต่อร่างกายของคุณ

เราอยากจะให้เหตุผลเพิ่มเติมว่าทำไมคุณควรไปพบนรีแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
วัยหมดประจำเดือนเกิดขึ้นเมื่อรังไข่หยุดทำงาน และประจำเดือนได้หมดลง กระบวนการนี้จะตามมาด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ซึ่งประจำเดือนจะมาและขาดไป และอาจใช้เวลานานถึง 6 เดือน หรือมากกว่านั้นจนกว่าจะประจำเดือนจะมาอย่างคงที่ และหยุดในที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ผู้หญิงจึงต้องระมัดระวังในการมีเพศสัมพันธ์อย่างดี เพราะการที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอไม่ได้หมายความว่าจะมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันได้ –
ความผิดปกติของรอบเดือนอาจมาพร้อมกับอาการร้อนวูบวาบ น้ำหนักขึ้น หรือช่องคลอดแห้ง

พบนรีแพทย์เป็นประจำเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงในวัยหมดประจำเดือนของคุณ

ดังนั้น เพื่อควบคุมการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของผู้หญิงได้อย่างปลอดภัยและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ การตรวจร่างกายทางนรีเวชอย่างสม่ำเสมอจึงมีความสำคัญอย่างมาก การตรวจร่างกายนี้จะเป็นการตรวจอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะมีการสั่งยาสำหรับการรักษา พร้อมกับมีการตรวจโรค หรือความผิดปกติทางนรีเวชและเต้านม
หากการเปลี่ยนแปลงดำเนินไปอย่างราบรื่น เราขอแนะนำให้ไปพบแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง แต่บางครั้งอาจจะต้องไปพบบ่อยขึ้น หากผู้หญิงรู้สึกว่าร่างกายของเธอมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

วัยหมดประจำเดือนเกิดขึ้นขณะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 50 ปี(1) ซึ่งยังตามมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย (ร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้ง) การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง (น้ำหนักเพิ่มขึ้น รูปร่างเปลี่ยนแปลงไป) และ/หรือการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ (อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ)
ผู้หญิงมากถึง 80% มีอาการร้อนวูบวาบ(2) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่การให้ฮอร์โมนบำบัด ในกรณีที่ไม่มีข้อห้ามใดๆ
การให้ฮอร์โมนบำบัดควรได้รับการดำเนินการภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น

หากวัยหมดประจำเดือนเกิดขึ้นก่อนอายุ 40 ปี นี่จะเรียกว่าภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด(3) ซึ่งไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงตามสภาวะทางสรีรวิทยา และควรได้รับการดูแลอย่างเฉพาะเจาะจงและใกล้ชิด

ข้อควรรู้
● ประจำเดือนอาจสิ้นสุดในช่วงอายุประมาณ 51 ปีโดยเฉลี่ย
● ปรึกษานรีแพทย์ เพราะการเข้าสู่ช่วงวันหมดประจำเดือนไม่ได้หมายถึงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันได้

เคล็ดลับที่ควรปฏิบัติตาม
● ตรวจนรีเวชปีละครั้งหรือบ่อยกว่านั้น หากมีอาการแทรกซ้อนหรือผิดปกติมากขึ้น
● การตรวจร่างกายควรจะเป็นการตรวจอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะมีการสั่งยาสำหรับการรักษา พร้อมกับมีการตรวจโรค หรือความผิดปกติทางนรีเวชและเต้านม

แหล่งที่มา:
1.    Leridon H. Démographie de la ménopause. Quelques données. Gynécologie internationale 1997;6(10):330-1
2.    Woods NF, Mitchell ES. Symptoms during the perimenopause: prevalence, severity, trajectory and significance in women’s lives. Am J Med 2005; 118:14-24.
3.    Management of women with premature ovarian insufficiency. Guideline of the European Society of Human Reproduction and Embryology. December 2015.