ทำไมเราจึงลดน้ำหนักได้ยากในช่วงวัยหมดประจำเดือน?

อาจเป็นเพราะร่างกายของคุณต้องการคงความแข็งแรงและพลังงานเพื่อก้าวผ่านช่วงเวลาที่ท้าทายไปให้ได้ หรืออาจมีเหตุผลอื่น สิ่งสำคัญยิ่งกว่าการควบคุมน้ำหนักก็คือการให้ความสนใจในการคงรักษามวลกายให้มีความสมดุลและสุขภาพดี

ดร. แอกเนียสซกา ชเมอร์โล

แพทย์ผิวหนัง

ปัจจัยที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

น้ำหนักเป็นเรื่องหนึ่ง แต่ที่สำคัญกว่าคือการรับประทานอาหารอย่างพอดี

เมื่อเข้าสู่วัยทอง จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายผู้หญิง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ หนึ่งในสิ่งต้องเผชิญคือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายกันแน่ ประการแรก การสะสมไขมันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ส่วนใหญ่ไขมันมักจะสะสมบริเวณต้นขาและสะโพก ปัจจุบัน ไขมันส่วนเกินมักจะสะสมอยู่ในบริเวณหน้าท้อง ใต้ผิวหนัง และรอบๆ อวัยวะภายในร่างกาย(1)

จากข้อมูลพบว่า ผู้หญิงจะใส่ใจเรื่องการลดน้ำหนักและการคงน้ำหนักตัวไว้ให้เท่าเดิม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในช่วงวัยทอง อีกทั้งยังแนะนำให้ดูแลโภชนาการและออกกำลังกายเมื่อเข้าสู่วัยทองมากขึ้นด้วย (2) ทำไมถึงลดน้ำหนักได้ยากขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยทอง ? ผู้หญิงในช่วงวัยทองมักมีแนวโน้มอ้วนง่ายกว่าก่อนหมดประจำเดือน(3) โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้หญิงมักจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 0.7 กิโลกรัมต่อปีในช่วงวัยกลางคน (ประมาณช่วงอายุ 50-60 ปี) โดยไม่ได้เกี่ยวกับขนาดตัวหรือเชื้อชาติ/ชาติพันธุ์(4) โรคอ้วนมักพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากขึ้นด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น อัตราการเผาผลาญที่ต่ำลง และการเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อยลง (5)

นอกจากอายุที่มากขึ้นแล้ว ผู้หญิงในช่วงวัยกลางคน อาจเผชิญปัจจัยเฉพาะตัวที่ส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ ประกอบด้วย การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ความผิดปกติของอารมณ์ และสิ่งรบกวนขณะนอนหลับ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเดิมยืนยันว่า น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นของผู้หญิงวัยกลางคนเป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ซึ่งการเข้าสู่วัยทองไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แต่เกิดจากการปรับพฤติกรรมให้เป็นไปตามวัย ดังนั้น การรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม และการเคลื่อนไหวร่างกายจะช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อร่างกายให้แข็งแรง (4) กฎง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณเลือกอาหารที่จะรับประทาน
 

คุณควรกินอะไรบ้าง:

ทุกวัน

ธัญพืช: บริโภค 1 หรือ 2 หน่วยบริโภคต่อมื้อในรูปแบบของขนมปังโฮลเกรน พาสต้าโฮลเกรน ข้าว และอื่นๆ

ผัก: บริโภค 2 หน่วยบริโภคขึ้นไปต่อมื้อ และควรบริโภผักสดอย่างน้อย 1 หน่วย (1 มื้อ/วัน)

อาหาร: บริโภค 1 หรือ 2 หน่วยบริโภคต่อมื้อ โดยเลือกทานเป็นของหวาน

น้ำเปล่า: ดื่มวันละ 1.5 - 2 ลิตร (เทียบเท่ากับ 6 - 8 แก้ว)

ผลิตภัณฑ์จากนม: ควรทานในปริมาณปานกลาง (2 หน่วยบริโภคต่อวัน) โดยเลือกดื่มเป็นนมไขมันต่ำ

น้ำมันมะกอกและน้ำมันคาโนลา: ควรเป็นแหล่งที่มาหลักของไขมันในอาหาร

เครื่องเทศ สมุนไพร กระเทียม และหัวหอม: วิธีที่ดีในการลดการใช้เกลือ
 

รายสัปดาห์

ปลาและหอย (2 หน่วยบริโภคขึ้นไป) เนื้อขาว (2 หน่วยบริโภค) และไข่ (2-4 หน่วยบริโภค)

การบริโภคเนื้อแดง (น้อยกว่า 2 หน่วยบริโภค ควรเป็นส่วนที่ไม่ติดมัน) และไม่ควรเนื้อแปรรูป (น้อยกว่า 1 หน่วยบริโภค) ในปริมาณมาก และไม่ควรทานบ่อย

พิจารณาเลือกทานพืชตระกูลถั่ว (มากกว่า 2 หน่วยบริโภค) และธัญพืชเป็นแหล่งโปรตีน และไขมันจากพืชที่ดีต่อสุขภาพแทนเนื้อสัตว์

ควรทานมันฝรั่งในระดับรายสัปดาห์ด้วย (ไม่เกิน 3 หน่วยบริโภคต่อสัปดาห์ และควรเป็นมันฝรั่งสด) เนื่องจากมีค่าดัชนีน้ำตาลสูง และนิยมนำไปทอด

 

เป็นครั้งคราว

อาหารที่อุดมด้วยน้ำตาล และไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพ (ขนมหวาน) น้ำตาล ลูกอม ขนมอบ และเครื่องดื่ม เช่น น้ำผลไม้หวาน และน้ำอัดลม ซึ่งควรบริโภคในปริมาณเล็กน้อย หรือไม่ควรบริโภคเลย อาหารเหล่านี้มีพลังงานสูง และมีแนวโน้มที่จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

+ ออกกำลังกายระดับปานกลางอย่างสม่ำเสมอ (อย่างน้อย 30 นาทีในตลอดทั้งวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (6)

 

สิ่งที่ควรทราบในการลดน้ำหนักระหว่างช่วงวัยหมดประจำเดือน

การกระจายตัวของเนื้อเยื่อไขมันมีการเปลี่ยนแปลงไป นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมน้ำหนักของคุณอาจขึ้นๆ ลงๆ ได้ ซึ่งก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณทั้งหมดซะทีเดียว อย่างไรก็ตาม การทานอาหารที่ดี และใช้ชีวิตที่ดีก็มีส่วนช่วยในเรื่องนี้ได้

 

แหล่งที่มา:

[1]. Pertyński T, Stachowiak G. Menopause - facts and controversies. Endokrynologia Polska/Polish Journal of[1] [2] [3]
Endocrinology Tom/Volume 57; Numer/Number 5/2006
[2]. Marlatt, K. L., Beyl, R. A., & Redman, L. M. (2018). A qualitative assessment of health behaviors and experiences
during menopause: A cross-sectional, observational study. Maturitas, 116, 36-42.
[3]. Monteleone, P., Mascagni, G., Giannini, A., Genazzani, A. R., & Simoncini, T. (2018). Symptoms of menopause —
global prevalence, physiology and implications. Nature Reviews Endocrinology, 14(4), 199-215.
[4]. Kapoor, E., Collazo-Clavell, M. L., & Faubion, S. S. (2017). Weight Gain in Women at Midlife: A Concise Review
of the Pathophysiology and Strategies for Management. Mayo Clinic Proceedings, 92(10), 1552-1558.
[5]. Addor, F. (2018). Beyond photoaging: additional factors involved in the process of skin aging. Clinical, Cosmetic
and Investigational Dermatology, Volume 11, 437-443.
[6]. Bach-Faig, A., Berry, E. M., Lairon, D., Reguant, J., Trichopoulou, A., Dernini, S., … Serra-Majem, L. (2011).
Mediterranean diet pyramid today. Science and cultural updates. Public Health Nutrition, 14(12A), 2274-2284.