วิธีดูแลและรับมือกับ ปัญหาจุดด่างดำ กระแดด ฝ้าแดด

รู้ปัจจัยทำร้ายผิวที่ทำให้เกิดปัญหาจุดด่างดำ กระ ฝ้า และรอยสิว พร้อมแนะนำ ผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่ช่วยจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อผิวสวยกระจ่างใส และสุขภาพดี

วิธีดูแลและรับมือกับ ปัญหาจุดด่างดำ กระแดด ฝ้าแดด

ปัญหาผิวที่สาว ๆ เกือบทุกคนต้องมี เชื่อได้เลยว่าก็คือ ปัญหาจุดด่างดำนั่นเอง บางคนเป็นมาก บางคนเป็นน้อย ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนเผชิญกับปัจจัยทำร้ายผิวอะไรมาบ้าง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ปัญหากระ ฝ้าแดด จุดด่างดำให้มากขึ้น และเข้าใจถึงวิธีการดูแลผิว

ปัจจัยทำร้ายผิวให้เกิดปัญหาจุดด่างดำกระฝ้า
สำหรับปัญหาฝ้า กระแดด จุดด่างดำ หลาย ๆ คนอาจคิดว่าเกิดจากรังสี UV เพียงอย่างเดียว แต่ที่จริงแล้วยังมีปัจจัยทำร้ายผิว หรือที่เรียกว่าเอ็กซ์โพโซม (Exposomes) อีกหลายชนิดที่มีส่วนในการสร้างเม็ดสีเมลานิน อาทิ มลภาวะ1 ฝุ่น PM2.5 รวมไปถึงปัจจัยไลฟ์สไตล์ของเราเอง เช่น ความเครียด จากการทำงานหนัก หรืออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ การนอนดึก การพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนหลับไม่สนิท2 ซึ่งส่งผลต่อสมดุลฮอร์โมนเมลาโทนิน และ คอร์ติซอล อีกทั้งการรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล หรือแม้แต่กระทั่งการสูบบุหรี่ก็มีผลการวิจัยออกมาแล้วว่า สามารถกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานิน สาเหตุของจุดด่างดำได้เช่นกัน

รวมไปถึงปัจจัยภายใน อาทิ ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัยต่าง ๆ เช่น การเป็นสิว, ภาวะตั้งครรภ์5, วัยทอง6 หรือการรับประทานยาคุมกำเนิด เหล่านี้ล้วนกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นที่ผิว และส่งผลให้เกิดการสร้างเม็ดสีผิวเมลานินทั้งทางตรงและทางอ้อม จนมีการสะสมตัวกันกลายเป็นจุดด่างดำบนผิว ทำให้สีผิวไม่สม่ำเสมอ แลดูไม่สดใส

นอกจากนี้ยังมีการวิจัยอีกหลายฉบับ ที่แสดงถึงผลเสียที่ส่งเสริมกัน อย่างเช่น การเผชิญกับรังสี UV พร้อม ๆ กับ มลภาวะ ฝุ่น PM2.5 จะเร่งการเกิดผลเสียต่อผิวได้เพิ่มขึ้นอีกถึง 3.5 เท่า7,8

4 กลไกหลักของการเกิด และ วิธีการดูแลผิว ให้ห่างไกล จุดด่างดำกระฝ้า
หากเราเข้าใจ กลไกการเกิดจุดด่างดำ กระฝ้า และรอยสิวแล้ว เราก็สามารถที่จะจัดการกับปัญหาผิวดังกล่าวได้อย่างถูกวิธี ซึ่งการผลิตเม็ดสีผิวเมลานินนั้น เป็นขั้นตอนที่ซับซ้อน แต่ก็พอที่จะอธิบายได้คร่าวๆ ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1: การส่งสัญญาณการผลิต - ปัจจัยทำร้ายผิวต่าง ๆ อาทิ รังสียูวี มลภาวะ รวมไปถึงการเกิดสิว เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบที่เซลล์ผิวชั้นบน จึงมีการส่งสัญญาณไปยังเมลาโนไซท์ ซึ่งเป็นเซลล์ในผิวชั้นอิพิเดอร์มิส ให้ผลิตเมลานินขึ้นเพื่อช่วยปกป้องผิวจากรังสี UV

ขั้นตอนที่ 2: การผลิตเมลานิน - เซลล์เมลาโนไซท์เมื่อได้รับสัญญาณมาแล้ว ก็จะมีการกระตุ้นให้เกิดการผลิตเม็ดสีเมลานิน ผ่านการทำงานของเอนไซม์สำคัญที่ชื่อว่า ไทโรซิเนส

ขั้นตอนที่ 3: การขนส่งเมลานิน - เมลานินจะถูกลำเลียงไปยังเซลล์ผิวชั้นบนผ่านแคปซูลที่ชื่อว่าเมลาโนโซม

ขั้นตอนที่ 4: การผลัดเซลล์ผิว - ด้วยกลไกปกติของผิวเราจะมีการกำจัดเอาเซลล์ผิวที่ตายแล้ว รวมทั้งจุดด่างดำต่าง ๆ ให้หลุดลอกออกไปโดยรอบ ในการผลัดเซลล์ผิวของคนที่มีผิวสุขภาพดีจะอยู่ที่ประมาณ 28 วัน

  ดังนั้น การหลีกเลี่ยงปัจจัย Exposomes หรือ ปัจจัยทำร้ายผิว รวมไปถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่มีประสิทธิภาพ ดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะยับยั้งหรือชะลอการเกิดปัญหากระ ฝ้าแดด และจุดด่างดำได้ เพราะเป็นการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม

แต่ด้วยไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน ทำให้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัจจัยทำร้ายผิวบางอย่างได้ ยกตัวอย่างเช่น ฝุ่น PM2.5 ที่แม้ว่าเราจะใส่ mask แล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีบางส่วนของใบหน้า เช่น โหนกแก้ม หรือ หน้าผากที่มลภาวะเหล่านี้สามารถมาสัมผัสผิวเราได้ รวมถึงไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ในยุคปัจจุบัน ก็ทำให้เรายากที่จะหลีกเลี่ยงการถูกทำร้ายจากปัจจัยดังกล่าว ดังนั้นการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยจัดการกับจุดด่างดำ ได้ครบทั้ง 4 ขั้นตอน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะตอบโจทย์การดูแลผิวของผู้หญิงในยุคนี้

VICHY เวชสำอางจากประเทศฝรั่งเศส ที่มีแพทย์ผิวหนังกว่า 50,000 คนทั่วโลกมั่นใจแนะนำให้ใช้3 ได้นำเอาพลังน้ำแร่แห่งภูเขาไฟโอแวงก์ (Auvergne) มาผสานการทำงานกับสารสำคัญที่ใช้อยู่ในวงการแพทย์ อย่างเช่น ไนอาซินาไมด์, ทรานเอกซามิก แอซิด, วิตามิน ซีจี และ ไกลโคลิก แอซิด กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ VICHY LIFTACTIV B3 SERUM DARK SPOTS AND WRINKLES

วิชี่ ลิฟแอคทีฟ บีทรี เซรั่ม ดาร์คสปอต แอนด์ ริงเคิล

เซรั่มใหม่ล่าสุดจากวิชี่ ที่ทำงานแบบ 4D ACTIONS เข้าตัดวงจรปัญหาจุดด่างดำ และรอยสิว ได้ทั้ง 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. Tranexamic acid (ทรานเอกซามิก แอซิด) สารที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการรักษาฝ้าแดด ที่ใช้ในวงการแพทย์ จะตรงเข้าจัดการกับสัญญาณ9 การก่อตัวของจุดด่างดำฝังลึก^ ตั้งแต่แรกเริ่ม โดยจัดการกับสัญญาณการอักเสบของเซลล์เคราติโนไซท์ที่ถูกทำร้ายจากแสงแดด และปัจจัยทำร้ายผิวต่าง ๆ

2. Vitamin CG เข้าลดเลือนจุดด่างดำบนผิวอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส10

3. Niacinamide (ไนอาซินาไมด์ หรือ วิตามิน B3) ตัดวงจรการเกิดปัญหาจุดด่างดำใหม่ ๆ เพราะเข้ารบกวนการเผยตัว (transfer)11,12 ของจุดด่างดำเกิดใหม่ที่ผิวชั้นบน^ ซึ่งความเข้มข้น 5% เป็นความเข้มข้นที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ11 และเหมาะกับสภาพผิวที่บอบบางแพ้ง่าย

4. Glycolic Acid & HEPES มีส่วนช่วยในกระบวนการผลัดเซลล์ผิว จึงช่วยฟื้นผิวให้ดูกระจ่างใส สีผิวแลดูสม่ำเสมอขึ้น13

w735 20220704 skyhigh 8 v02

สำหรับสาว ๆ ที่ผิวบอบบาง แพ้ง่าย ก็สามารถใช้ วิชี่ ลิฟแอคทีฟ บีทรี เซรั่ม ดาร์คสปอต แอนด์ ริงเคิลได้อย่างสบายใจ เพราะเป็นสูตรไฮโปอัลเลอร์เจนิก (hypoallergenic) ที่ปราศจากสารแต่งสี น้ำหอม เอทิลแอลกอฮอล์ ซิลิโคน และพาราเบน เนื้อผลิตภัณฑ์เบาสบายผิว ไม่เหนียวเหนอะหนะ

ขั้นตอนการใช้: หลังจากเช็ดทำความสะอาดผิวด้วยโทนเนอร์และลงพรีเซรั่มแล้ว ทาลิฟแอคทีฟ บีทรี เซรั่ม ดาร์คสปอต แอนด์ ริงเคิล ให้ทั่วใบหน้า ระวังอย่าให้เข้าตา แล้วจึงตามด้วยเซรั่มชนิดอื่นตามความต้องการ หรือตามด้วยมอยเจอร์ไรเซอร์บำรุงผิวได้เลย โดยที่สามารถใช้ได้ทั้ง เช้า และ เย็น และในเวลากลางวันควรปกป้องผิวจากแสงแดดด้วย

ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก ภก. บดินทร์ หลักทอง เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เวชสำอางวิชี่ ที่ให้ความรู้กับเกี่ยวกับบทความเรื่อง จุดด่างดำกระฝ้า อย่าลืมเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF50+ และมีค่า PA++++ เพื่อปกป้องผิวจากรังสี UV ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญทำให้เกิดจุดด่างดำกระฝ้า และรอยสิว หลีกเลี่ยงการเผชิญผิวกับปัจจัยทำร้ายผิว Exposomes และ เลือกใช้เวชสำอางที่ช่วยในการจัดการกับจุดด่างดำอย่างมีประสิทธิภาพ อย่าง วิชี่ ลิฟแอคทีฟ บีทรี เซรั่ม ดาร์คสปอต แอนด์ ริงเคิล เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเผยผิวที่สวยอย่างที่ใจต้องการ

^ผิวชั้นนอก (epidermis)
1. Grether-Beck S et al. 2020. An antioxidant cocktail containing cosmetic product (Liftactive cureR) prevents air pollution-induced skin hyperpigmentation: ex vivo Düsseldorf Pollution Skin Test. AAD 2020.
2. Suh DH, Kim BY, Min SU, Lee DH, Yoon MY, Kim NI, Kye YC, Lee ES, Ro YS, Kim KJ. A multicenter epidemiological study of acne vulgaris in Korea. Int J Dermatol. 2011 Jun;50(6):673-81.
3. ผลสำรวจโดย AplusA และผู้ทำการสำรวจร่วมโดยอ้างอิงจากตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์ เวชสาอาง ระหว่าง มกราคม 2021 ถึง ตุลาคม 2021 ซึ่งเป็นผลสํารวจที่มีแพทย์ผิวหนัง ทั้งหมด 34 ประเทศเข้าร่วม โดยสามารถอ้างอิงถึงมากกว่า 80% ของ GDA ทั่วโลก
4. Krutmann J, et al. The skin aging exposome. J Dermatol Sci, 2017;85(3):152 161.
5. Passeron T, Picardo M. Melasma, a photoaging disorder. Pigment Cell Melanoma Res. The official journal of International federation of pigment cell societies · society for melanoma research 2018;00:1-5.
6. Zouboulis et al, The Role of Hormones in Intrinsic Aging, Skin aging. Springer, New York Heidelberg, 2006, pp :55 64.
7. A Vierkotter et al. Airborne Particles and Skin Aging, Journal of Investigative Dermatology (2010) 130, 2719–2726.
8. Araviiskaia E. J Eur Acad Dermatol Venereol. 2018;25(40):5469-5486.
9. Kaur, et al.: Tranexamic acid in melasma. Pigment International. Volume 7, Issue 1, January-June 2020.
10. Maeda K et al., In vitro effectiveness of several whitening cosmetic components in human melanocytes. Journal of the Society of Cosmetic Chemists, 1991, Vol. 42, No. 6, 361-368
11. T.HAKOZAKI. The effect of niacinamide on reducing cutaneous pigmentation and suppression of melanosome transfer. British Journal of Dermatology 2002; 147: 20–31.
12. Jody P. Ebanks. Mechanisms Regulating Skin Pigmentation: The Rise and Fall of Complexion Coloration. Int. J. Mol. Sci. 2009, 10, 4066-4087
13. Kornhauser, A. et al. Applications of hydroxyacids : classification, mechanisms and photoactivity. Clin. Cosmet . Invest. Dermatol . 2010 , 3 135 142.