อะไรคือสาเหตุของรังแคกันแน่?
ไมโครไบโอม (microbiome) บนหนังศีรษะ - และรังแค
เพื่อทำความเข้าใจสาเหตุของการเกิดรังแค ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าหนังศีรษะถือเป็นระบบนิเวศหนึ่งในตัวเอง ในพื้นที่แต่ละตารางเซนติเมตรเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์กว่า 10,000 - 100 ล้านตัว —โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบคทีเรียและยีสต์(3) ระบบนิเวศนี้เรียกว่าไมโครไบโอม (microbiome) ของหนังศีรษะ การวิจัยช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถระบุบทบาทของจุลินทรีย์แต่ละชนิดที่ทำให้เกิดรังแค: ยีสต์สายพันธุ์หนึ่งทำให้เกิดโรคเชื้อรา (Malassezia) พบว่ายีสต์ชนิดนี้ ทำให้ ไมโครไบโอม (microbiome) บนหนังศีรษะ ก่อให้เกิดรังแค(4)
มาทำความรู้จักรังแคทั้ง 2 ประเภท
รังแคมี 2 ประเภท รังแคแบบแห้งและรังแคมัน – รู้จักกันในชื่อ รังแคแบบเกาะติดบนหนังศีรษะ– เนื่องจากรังแคประเภทนี้มักจะเกาะติดอยู่บนหนังศีรษะ รังแคแบบแห้ง มีลักษณะเป็นขุยและละเอียด มีสีขาวหรือสีเทา และมักจะหลุดร่วงตลอดเวลา รังแคที่เหนียวเหนอะหนะหรือเกาะติดแน่น โดยเมื่อรังแคหนาขึ้น เหนียวขึ้น และมีน้ำมันสะสมทับกันมากขึ้น จนทำให้หนังศีรษะผลิตไขมันออกมามากเกินไป รังแคที่เกาะติดบนหนังศีรษะมักจะเกิดขึ้นซ้ำๆ เนื่องจากไขมันทำให้ยีสต์เจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะยีสต์โรคเชื้อรา (Malassezia) จนเกิดเป็นวงจรอุบาทว์ไม่มีที่สิ้นสุด รังแคทั้งสองประเภท อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการระคายเคือง ซึ่งแล้วแต่หนังศีรษะของแต่ละคน
ค้นหาสาเหตุของการเกิดรังแค
รังแคเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ สิ่งสำคัญลำดับแรก ต้องตรวจสอบให้ชัดเจนว่าไม่ใช่โรคสะเก็ดเงิน ซึ่งถือเป็นภาวะผิวหนังอักเสบ เมื่อหนังศีรษะลอกเป็นขุยขั้นรุนแรง อาจมีอาการอยแดงที่ระคายเคืองร่วมด้วย ปัจจัยต่างๆ: อาจเกิดความเครียดไปจนถึงฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลง ค่า pH บนผิวหนังเสียสมดุล หรือแม้กระทั่งหนังศีรษะแห้งจากความร้อในช่วงกลางฤดูหนาว ทั้งหมดล้วนเกิดจากการผลิตไขมันส่วนเกิน ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของรังแคได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะยีสต์โรคเชื้อรา (Malassezia) ในความเป็นจริง ฤดูหนาว มักเป็นช่วงเวลาที่ทำให้เกิดรังแค จนเรียกกันว่าเป็น “ ฤดูกาลแห่งรังแค” ในบางพื้นที่(5) ในขณะที่ฤดูแล้ง ก็ทำให้ปัญหารังแคทวีความรุนแรงขึ้น เช่น ในประเทศไทย เป็นต้น(6)