ถูกหรือผิด: ความเชื่อเกี่ยวกับรังแค

ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นรังแคได้มากกว่าผู้ชายใช่หรือไม่? อายุ สภาพแวดล้อม หรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิต เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นรังแคใช่หรือไม่? เราศึกษาค้นคว้าหาความจริงจากเรื่องราวที่บอกเล่ากันมา

จริงหรือเท็จ: ผู้หญิงมักจะเป็นรังแคบ่อยกว่าผู้ชาย

เท็จ
รังแคมีความเกี่ยงเนื่องกับไมโครไบโอมที่ไม่สมดุล ซึ่งเกิดเร็วขึ้นในบริเวณที่อุดมไปด้วยซีบัม การรวมตัวของสองสิ่งนี้ส่งผลให้มีรังแคมันเกาะติดกับหนังศีรษะในรูปของสะเก็ดหนา การศึกษาพบว่า ผู้ชายมักจะมีแนวโน้มที่จะเป็นรังแคมากกว่าผู้หญิง[1] ทั้งนี้การวิจัยยังบ่งชี้ให้เห็นว่ากลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหารังแคมากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาหนึ่งพบว่า คนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันมีความชุกของปัญหารังแคอยู่ที่ 81–95% และ 66–82% ในคนผิวขาว และ 30–42% ในชาวจีน[2] เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างรังแคประเภทต่างๆ

ถูกหรือผิด: ฉันเคยเป็นรังแคครั้งหนึ่ง ดังนั้นฉันจึงเป็นรังแคตลอด

ถูก:
อย่างที่ทราบกันดีว่ารังแคเกิดขึ้นจากปริมาณแบคทีเรียดังกล่าวข้างต้น (malassezia) ที่มีมากเกินไป ซึ่งพบได้บนหนังศีรษะ ในแง่นี้ อาจอธิบายได้ว่าเป็นรังแคที่เกิดซ้ำ อย่างไรก็ตาม รังแคยังอาจเชื่อมโยงกับระดับความมันบนหนังศีรษะ ดังนั้นจึงอาจโอกาสกลับมาเกิดซ้ำได้หากช่วงนั้นมีการผลิตซีบัมสูงกว่าปกติ เช่น ในช่วงวัยรุ่น

จริงหรือเท็จ: รังแคเกิดจากผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมของเรา

จริง:
แม้ว่ารังแคอาจส่งผลกระทบต่อทุกคนได้ตลอดเวลาในชีวิต แต่รังแคยังเกี่ยวโยงกับปัจจัยภายนอกหลายประการ อายุ ความเครียด และแม้แต่ระดับฮอร์โมนของร่างกาย ก็อาจส่งผลต่อความถี่ในการเป็นรังแคของเราได้ เพราะสะเก็ดน้ำมันจะเริ่มก่อตัวขึ้น เมื่อเชื้อรามาลาสซีเซียได้มาพบเจอกับระดับของซีบัมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้เซลล์มาลาสซีเซียเพิ่มจำนวนเร็วขึ้นทั่วทั้งหนังศีรษะ และก่อให้เกิดวงจรปัญหาขึ้น ปัญหานี้จะเลวร้ายลงไปอีกสำหรับหนังศีรษะที่มีการผลิตซีบัมสูง (เช่น วัยรุ่น) หรือผู้ที่มีความเครียด ซึ่งทำให้กลไกการป้องกันตามธรรมชาติของร่างกายอ่อนแอลง และทำให้ผิวหนังมีโอกาสเกิดความผิดปกติมากยิ่งขึ้น

แหล่งที่มา:
[1] Manuel, F. et al, ‘A New Postulate on Two Stages of Dandruff: A Clinical Perspective’ in International journal of Trichology 3.1 (2011) pp. 3-6
[2] Borda, L. et al, ‘Seborrheic Dermatitis and Dandruff: A Comprehensive Review’ in Journal of Clinical and Investigative Dermatology 3.2 (2015) 10.13188/2373-1044.1000019.