อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงวัยหมดประจําเดือนมีอะไรบ้าง?

สิ่งที่ไม่ดีสําหรับคุณในอดีต ก็ย่อมไม่ดีสําหรับคุณในตอนนี้ด้วยเช่นกัน! ไม่ว่าจะหวานเกินไป เค็มเกินไป หรือ มันมากเกินไป การหลีกเลี่ยงไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่การปรับเปลี่ยนต่างหากคือสิ่งที่ดีกว่า

ดร. แอกเนียสซกา ชเมอร์โล

แพทย์ผิวหนัง

ใส่ใจกับค่าดัชนีน้ำตาล

มีการศึกษาวิจัยจํานวนมากที่ระบุถึงความเสี่ยงของภาวะเมแทบอลิก (เช่น โรคเบาหวาน ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม) โรคหัวใจและหลอดเลือด (ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง) มะเร็งเต้านมและโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงก่อนช่วงวัยหมดประจําเดือน(1)
โรคกระดูกพรุนส่งผลกระทบต่อหนึ่งในสามของผู้หญิงหลังวัยหมดประจําเดือน(2)
อย่างที่ทราบกันดีว่ามีผลิตภัณฑ์มากมายที่สามารถช่วยได้ แต่ยังมีอีกหลายผลิตภัณฑ์ที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในชีวิตช่วงนี้ ก่อนอื่นสิ่งสําคัญคือต้องใส่ใจกับค่าดัชนีน้ำตาลในอาหาร ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์และอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง (GI > 65)(3)

ค่าดัชนีน้ำตาลคืออะไร? กําหนดอัตราร้อยละของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นหลังจากบริโภคคาร์โบไฮเดรตในปริมาณเดียวกับกลูโคสบริสุทธิ์(4) อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่ค่าดัชนีเท่านั้นที่สําคัญ การอัดและบดธัญพืชมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่าดัชนีน้ำตาล เช่น คอร์นเฟลคที่ทําจากแป้งแปรรูปสูงจะมีค่าดัชนีน้ำตาลสูง อุณหภูมิสูงและเวลาในการทำความร้อนยังช่วยเพิ่ม GI ของผลิตภัณฑ์ด้วย ค่าดัชนีน้ำตาลของข้าวขาวสุกคือ 64 ในขณะที่ GI ของข้าวที่สุกเกินไปสูงถึง - 90 ไขมันจะชะลอการระบายของเสียในกระเพาะอาหารจากทางเดินอาหาร และทำให้การย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตยาวนานขึ้น นอกจากนี้ ผักและผลไม้สุกมีส่วนช่วยเปลี่ยนค่าดัชนีน้ำตาลด้วย

ตัวอย่างเช่น กล้วยสุกมีค่าดัชนีน้ำตาลสูงกว่ากล้วยดิบ ดังนั้น ควรงดรับประทานอาหารที่ทําจากแป้งแปรรูปสูง (ขนมปังขาว) ผลิตภัณฑ์แป้งที่มีใยอาหารต่ำ (มันฝรั่ง ข้าวขาว) และอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่ายสูง (ขนม เค้ก คุกกี้ เครื่องดื่มรสหวาน)(5) อาหารควรมีเกลือต่ำเพราะเกลือส่วนเกินทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและอาการบวมได้ ตามคําแนะนําในปัจจุบัน ผู้ใหญ่ควรบริโภคเกลือน้อยกว่า 5 กรัม ดังนั้น คุณควรหลีกเลี่ยง: อาหารแปรรูป ผงฟู ซุปก้อน ซุปสําเร็จรูป ของว่างที่มีรสเค็ม เช่น เพรทเซิล ข้าวโพดคั่วหรือมันฝรั่งทอด เบคอน ปลาและเนื้อสัตว์รมควัน ผักและผลไม้ดอง และผักและผลไม้กระป๋อง คุณควรเลี่ยงการเติมเกลือลงในอาหารด้วย(6)

 

ใส่ใจกับไขมัน

คุณควรใส่ใจกับประเภทของไขมันที่คุณบริโภค เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันทรานส์ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ควรจํากัดหรือไม่ควรรับประทาน ได้แก่ เนื้อวัว หมู แกะที่ติดมัน เนื้อสัตว์ปีกที่มีหนัง ไส้กรอก เนย ครีม น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เนื่องจากมีกรดไขมันอิ่มตัวในระดับสูง และเนยเทียมที่อยู่ในรูปแบบของแข็ง (แท่งหรือก้อน) คุกกี้และเค้กที่ทําจากเนยเทียมที่อยู่ในรูปแบบของแข็ง ข้าวโพดคั่วปรุงในไมโครเวฟ แครกเกอร์ อาหารจานด่วน ซุปสําเร็จรูป พิซซ่าแช่แข็งเนื่องจากมีไขมันทรานส์ในปริมาณสูง(3)

ใส่ใจปริมาณแคลเซียมและคาเฟอีนของคุณให้ดี

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมจากอาหารให้เพียงพอ เชื่อกันว่าการบริโภคคาเฟอีนในปริมาณสูงเป็นประจำทุกวัน อาจส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุน เนื่องจากมีผลต่อการเสริมสร้างกระดูก และเป็นสาเหตุทำให้กระดูกเปราะแตกหักได้ง่าย ผู้ที่บริโภคแคลเซียมในปริมาณน้อย คาเฟอีนไปขับแคลเซียมและแมกนีเซียมออกจากร่างกาย ดังนั้น จึงควรงดการดื่มกาแฟและเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีคาเฟอีน เช่น โซดาและเครื่องดื่มชูกำลัง (7) โดยสรุปแล้ว จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง มีส่วนผสมของเกลือในปริมาณสูง และเต็มไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันทรานส์ และคาเฟอีน โดยเฉพาะในช่วงวัยหมดประจำเดือน

ประเด็นสำคัญที่ควรจดจำ
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง:
·      ผลิตภัณฑ์ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง
·      อาหารที่มีเกลือในปริมาณสูง
·      กรดไขมันอิ่มตัว
·      กรดไขมันทรานส์
·      คาเฟอีน

จงเชื่อมั่นในการตัดสินใจของคุณ!

แหล่งที่มา:
[1]. Brończyk-Puzoń A, Piecha D, Koszowska A, Kulik-Kupka K, Zubelewicz-Szkodzińska B. Rola wybranych składników odżywczych diety u kobiet w okresie naturalnej menopauzy – przegląd piśmiennictwa. Medycyna Ogólna i Nauki o Zdrowiu, 2559, Tom 22, Nr 2
[2]. Rizzoli, R., Bischoff-Ferrari, H., Dawson-Hughes, B., & Weaver, C. (2557). Nutrition and Bone Health in Women after the Menopause. Women’s Health, 10(6), 599–608.
[3]. Brończyk-Puzoń A, Piecha D, Nowak J, Koszowska A, Kulik-Kupka K, Dittfeld A, Zubelewicz-Szkodzińska B. Guidelines for dietary management of menopausal women with simple obesity. Prz Menopauzalny. 2015 Mar; 14(1):
48–52.
[4]. Ciborowska H, Rudnicka A. (2550). Żywienie w otyłości (adipositas). Dietetyka. Żywienie zdrowego i chorego człowieka. Warszawa. PZWL
[5]. Ukleja A. Indeks glikemiczny w żywieniu osób z cukrzycą. Polska Federacja Edukacji w Diabetologii. Magazyn edukacyjny. Kwartał III. 2551
[6]. World Health Organisation Global Infobase. http://www.who.int/nutrition/publications/guidelines/sodium_intake/
en/
[7]. Bojarowicz H, Przygoda M. Kofeina. Cz. I. Powszechność stosowania kofeiny oraz jej działanie na organizm. Probl Hig Epidemiol 2555, 93(1): 8-13