รวมข้อควรรู้ จริงหรือไม่! เกี่ยวกับเรื่องผมร่วง

ความเชื่อที่ว่าพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ หรือปัจจัยหลาย ๆ อย่าง สามารถส่งผลต่อผมร่วงได้จริงหรือไม่ คอนเทนท์นี้เราจะมาพูดคุยกันเกี่ยวกับความเข้าใจผิด ๆ ในเรื่องเหล่านี้

หลาย ๆ คนอาจสงสัยในพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ หรือปัจจัยหลาย ๆ อย่าง สามารถส่งผลต่อผมร่วงได้หรือไม่ หลังจากที่คอนเทนท์ที่แล้วเราพูดกันถึงเรื่อง 10 อย่างที่ควรรู้เพื่อบอกลาปัญหาผมร่วง คอนเทนท์นี้เราจะมาพูดคุยกันต่อครับ โดยคราวนี้เรามารู้จักกับความเข้าใจผิด ๆ ที่เกี่ยวกับผมหลุดร่วงบ้างดีกว่าครับ

จริงหรือไม่ ..... สิ่งเหล่านี้เกี่ยวกับผมร่วง

กรรมพันธุ์ และฮอร์โมนเท่านั้นที่ทำให้ผมร่วง


        หลาย ๆ คนเข้าใจว่า ผมร่วงต้องมาจากฮอร์โมน หรือกรรมพันธุ์เท่านั้น อาจเคยเห็นเพื่อน ๆ ของเรา ที่คุณพ่อหรือคุณแม่ผมบาง แล้วลูกก็ผมบางเหมือนกับคุณพ่อและคุณแม่ แต่จริง ๆ แล้ว ปัญหาผมร่วง นอกจากปัจจัยด้านกรรมพันธุ์ หรือฮอร์โมนแล้ว ยังมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม หรือไลฟ์สไตล์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อย่างเช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ความเครียด หรือนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ1



หากผมร่วงแล้ว ก็จะร่วงเลย แก้ไขไม่ได้ ใช่หรือไม่?


        ไม่จริงเลยครับ หลาย ๆ คนที่มีปัญหาผมร่วง หากทราบสาเหตุที่แน่ชัด เราก็สามารถหลีกเลี่ยง ป้องกัน หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยดูแลปัญหาผมร่วงกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็สามารถที่จะช่วยให้เส้นผมกลับมาหนาแน่น ดกดำได้เหมือนปกติ หรือแม้แต่กระทั่ง สภาวะของร่างกายบางอย่าง เช่น หลังคลอดบุตร ในบางคนจะมีปัญหาผมร่วง หรือหลังจากหายจาก COVID แล้วมีปัญหาผมร่วง เราสามารถดูแลสภาพหนังศีรษะและเส้นผมเพื่อให้เส้นผมที่กลับมางอกใหม่มีสุขภาพที่แข็งแรงได้เหมือนเดิมอีกด้วย



ปัญหาผมร่วงเป็นปัญหาของคนอายุ 40+ เท่านั้น?


        ไม่เลย จากข้อมูลการศึกษาวิจัยหลาย ๆ แหล่งพบว่า หากเรามีประวัติครอบครัวว่าคุณพ่อคุณแม่มีปัญหาผมร่วงอยู่แล้ว รุ่นลูกอาจจะพบปัญหาผมร่วงได้ตั้งแต่อายุ 20 ต้น ๆ เท่านั้นเอง แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่า ผมเริ่มร่วงตั้งแต่อายุ 20 แต่มาเห็นชัดเจนเอาตอนอายุ 40+ ก็เลยทำให้คนส่วนใหญ่อาจเข้าใจว่า ปัญหาผมร่วงมักจะเป็นปัญหาของคนสูงอายุนั่นเอง



ผมร่วงเป็นปัญหาของผู้ชายเท่านั้น ?


        ไม่จริงอีกเช่นกันครับ เป็นไปได้ว่าผู้ชายจะเห็นปัญหาผมร่วงได้ค่อนข้างชัดเจนกว่า เพราะว่า รูปแบบของผมร่วงในผู้ชายจะเป็นการเว้าเข้าไปบริเวณหน้าผาก รวมไปถึงช่วงบริเวณกลางศีรษะ ในขณะที่ผู้หญิง จะเป็นการร่วงกระจาย ๆ ไปทั่วทั้งศีรษะหรืออาจจะเห็นชัดตามแนวแสกผมเลยสังเกตเห็นได้ลำบากกว่า แต่ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ต่างก็มีปัญหาผมร่วงได้พอ ๆ กัน โดยพบว่า ผู้หญิง 40% มักจะประสบปัญหาผมร่วงครับ



ผมร่วงในผู้ชาย เกิดมาจากฮอร์โมนเพศชายสูง จริงหรือไม่?


        ข้อนี้ก็ไม่จริงเลย จริงอยู่ว่าฮอร์โมนที่ชื่อว่า Testosterone มีผลต่อเรื่องของผมร่วงก็จริง แต่พบว่าในคนปกติ กับคนที่มีปัญหาผมร่วง ต่างมีฮอร์โมน testosterone เท่ากัน เพียงแต่ว่า คนที่มีปัญหาผมร่วงนั้น ด้วยกรรมพันธุ์ของเค้าเอง ทำให้ร่างกายมีความไว ต่อฮอร์โมนอีกตัวหนึ่งซึ่งชื่อว่า DHT มากกว่าปกติ (DHT เปลี่ยนแปลงมาจาก Testosterone อีกทีหนึ่ง) ซึ่งเจ้า DHT นี่แหละที่ทำให้รากผมเล็กลีบลง ทำให้เส้นผมที่งอกใหม่ มีขนาดเล็ก และหลุดร่วงได้ง่ายนั่นเอง



สระผมยิ่งบ่อย หรือสระผมทุกวัน ผมยิ่งร่วง ? ถ้าอย่างนั้น สระผม อาทิตย์ละ 1-2 ครั้งก็พอ ผมจะได้ร่วงน้อยลง ?


        สำหรับข้อนี้หลาย ๆ คนคงคิดแบบนี้เลยจริงไหมครับ แต่ความเข้าใจแบบนี้ ผิดอีกเช่นกันครับ โดยปกติ เส้นผมจะมีอัตราการร่วงเฉลี่ยต่อวัน โดยแพทย์ผิวหนังอนุญาตให้ร่วงได้ไม่เกินวันละ 100 เส้นในวันที่ไม่ได้สระผม ส่วนวันที่สระผม ยอมให้ร่วงได้ไม่เกิน 200 เส้น จริงอยู่ว่า การสระผมอาจไปกระตุ้นให้ผมร่วงง่ายขึ้น แต่การเว้นสระผม ก็เพียงเป็นการชะลอให้ผมที่จะต้องร่วงในวันนี้ ไปร่วงมากขึ้นในวันที่สระผมนั่นเอง คือยังไงผมก็ต้องร่วงอยู่ดีครับ ดังนั้น หากเราสระผมเป็นประจำ ไม่ว่าจะสระทุกวัน หรือสระวันเว้นวัน ผมก็จะร่วงสม่ำเสมออยู่แล้วครับ เราแค่คอยสังเกตว่าไม่ร่วงเกินเกณฑ์ที่แพทย์ผิวหนังกำหนดไว้เท่านั้นเอง หากร่วงเกินวันละ 100 เส้นในวันที่ไม่ได้สระผม หรือเกิน 200 เส้นในวันที่สระผม แสดงว่ามีปัญหาผมร่วง ก็ต้องรีบดูแลแก้ไขกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ครับ


        เห็นไหมครับว่า บางคนอาจจะยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องปัญหาผมร่วง หรือผมบางอยู่ คราวนี้ถ้าเรารู้ถึงเรื่องสาเหตุ ความเชื่อที่ผิดๆ หรือ แนวทางการปัองกันแล้ว เราก็จะสามารถดูแลปัญหาผมร่วงได้อย่างถูกวิธีมากยิ่งขึ้นครับ

จัดการผมขาดหลุดร่วงอย่างชาญฉลาดด้วย Vichy Dercos

        Vichy เวชสำอางจากประเทศฝรั่งเศส ที่มีแพทย์ผิวหนังกว่า 50,000 คนทั่วโลกมั่นใจแนะนำให้ใช้ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ DERCOS AMINEXIL CLINICAL 5 ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ ที่ช่วยจัดการปัญหาผมร่วง และช่วยทำให้เส้นผมและรากผมแข็งแรงขึ้นได้



แชมพูลดผมขาดร่วงที่แนะนำ


        อะมิเน็คซิล (Aminexil) โมเลกุลอัจริยะจาก Dercos มีชื่อเต็ม ๆ ทางวิทยาศาสตร์ คือ 2,4-Diamino-Pyrimidine-N-Oxide เป็นสารที่ทำการคิดค้นและวิจัยโดยสถาบันวิจัยลอรีอัล โดยที่อะมิเน็คซิลจะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับคอลลาเจนเน็ทเวิร์ค และไฟโบรเน็คติน2 จึงช่วยจัดการกับปัญหาผมขาดหลุดร่วงได้และทำให้เส้นผมดูมีความหนาแน่นขึ้น ดูมีโวลลุ่ม นอกจากนี้ยังมีการทดสอบทางการแพทย์ในอาสาสมัคร 421 คน จาก 6 ประเทศทั้งในยุโรปและอเมริกา โดยให้ใช้ผลิตภัณฑ์ Dercos Aminexil Clinical 5 วันละ 1 ครั้งติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือนและ ประเมินผลโดยแพทย์ผิวหนังพบว่ามากกว่า 80% ของอาสาสมัคร มีปัญหาผมขาดหลุดร่วงที่ลดลง2



แชมพูลดผมร่วง


        สำหรับวิธีการใช้นั้น แนะนำให้สระผมด้วยแชมพู Dercos Aminexil Energy+ ก่อน โดยสามารถสระได้บ่อยตามต้องการ หลังจากสระผมแล้ว เป่าผมและหนังศีรษะให้แห้งโดยใช้ลมเย็นเป่า แล้วจึงค่อยลงเซรั่ม Dercos Aminexil Clinical 5 โดยแนะนำให้ใช้ทุกวัน เพียงวันละ 1 ครั้งเท่านั้น แบ่งใช้บริเวณที่มีการหลุดร่วงของเส้นผม หรือบริเวณที่ผมบาง โดยจะใช้ตอนเช้าหรือตอนเย็นก็ได้ และถ้าใช้ไม่หมด ก็สามารถเก็บไว้ใช้ในครั้งถัดไปได้ โดยเก็บให้พ้นความร้อนและแสงแดด


        Dercos AMINEXIL มาพร้อมกับสูตรที่เหมาะสำหรับหนังศีรษะบอบบางแพ้ง่าย Hypoallergenic ปราศจากปัจจัยที่จะทำให้เกิดการแพ้หรือระคายเคือง เพราะ ปราศจากสารกันเสียพาราเบน ซิลิโคน และสารแต่งสี คนที่หนังศีรษะแพ้ง่ายจึงใช้ได้อย่างสบายใจ

สรุป

        ปัญหาผมหลุดร่วง เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป และมีสาเหตุการเกิดมาจากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมน พันธุกรรม หรือปัจจัยทำร้ายผิวที่เรียกว่า Exposome ดังนั้นการดูแลจึงต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าว ปรับเปลี่ยนรูปแบบ พฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิต อีกทั้งเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีโมเลกุลอัจฉริยะอย่าง อะมิเน็คซิล ที่ช่วยทำให้หนังศีรษะ และรากผมแข็งแรง ก็จะสามารถช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผมได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย



  1. James Gatherwright, Mengyuan T Liu. The contribution of endogenous and exogenous factors to male alopecia: a study of identical twins. Plast Reconstr Surg. 2013 May;131(5):794e-801e
  2. Pascal Reygagne, Victor Desmond Mandel. AC5 IN THE MANAGEMENT OF MILD ANDROGENETIC ALOPECIA : RESULTS FROM A LARGE INTERNATIONAL OBSERVATIONAL STUDY. EADV 2020.